การมีส่วนร่วมการเลือกตั้งทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน ศึกษาเฉพาะกรณี หมู่ที่ 4 ตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

จินตนา กะตากูล

บทคัดย่อ

 


การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมการเลือกตั้งทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน ศึกษาเฉพาะกรณี หมู่ที่ 4 ตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมการเลือกตั้งทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน ที่มี เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมการเลือกตั้งทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน ประชากรได้แก่ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบหมู่ที่ 4 ตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 603 คน และกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้โดยใช้ตารางของเคร็ซชี่และมอร์แกน (Krejcie และ Morgan) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 235 คน โดยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test และเมื่อปรากฏว่าค่า F มีนัยสำคัญทางสถิติ จึงทดสอบความแตกต่างค่าคะแนนเฉลี่ยรายคู่ โดยใช้วิธี LSD (Least Significant Difference)


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. การมีส่วนร่วมการเลือกตั้งทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยพบว่า ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้งมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการรับรู้ข่าวสารทางการเมือง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย

  2. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมการเลือกตั้งทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน ที่มีเพศต่างกันไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ที่มีระดับอายุต่างกันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ที่มีอาชีพต่างกันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ที่มีระดับการศึกษาและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

  3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมการเลือกตั้งทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน มีดังนี้ ประชาชนมีส่วนร่วมการเลือกตั้งทางการเมืองท้องถิ่นยังไม่มากเท่าที่ควร อาจเป็นเพราะการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองน้อย ตลอดจนประชาชนมีส่วนร่วมในการหารณรงค์เสียงเลือกตั้งน้อย ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งทางการเมืองท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันต์ญาณัฐ อัษฎาวรพัฒน์. (2560). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของสตรีในเขตอำเภอเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

งานพัฒนาชุมชน. (2555). ข้อมูลและสถิติประชากร. นครศรีธรรมราช: สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช.

นุศรา โพธิสุข. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร, 12(1), 151-164.

พระศักดา กิตฺติญาโณ (นาคเนตร). (2557). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2547). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร.

มานพ เข็มเมือง. (2556). การมีส่วนร่วมการเลือกตั้งทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 5(1), 107-124.

ส่งศรี ชมภูวงศ์. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุกฤตา จินดาพรม และโชติมา แก้วกรอง. (2556). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีไทยในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของภูมิภาคตะวันตก. วารสารการเมืองการปกครอง, 3(2), 118-133.

องอาจ จตุกูล. (2552). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.

อนงค์รัตน์ โรจน์สุรัญกิจ. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่น ของสตรีในเขตเทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน. ใน ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการคณะสงฆ์. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.