รูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสาขาวิชาการบริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ

Main Article Content

อำนาจ บุญประเสริฐ
จินดา ศรีญาณลักษณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสาขาวิชาการบริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารหลักสูตรการบริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ การวิจัยเป็นแบบผสมผสาน โดยใช้เทคนิคเดลฟายจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการหลักสูตรสาขาการบริหารการศึกษา จำนวน 19 คน โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง และวิธีการบอกต่อ และการวิเคราะห์ความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสาขาการบริหารการศึกษาชองมหาวิทยาลัยราชภัฏในการนำไปปฏิบัติจริง โดยกลุ่มตัวอย่างจากประธานและกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาการบริหารการศึกษา จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์, แบบสอบถาม โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัย ควอไทล์ การหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


        ผลการวิจัยพบว่า


  1. รูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสาขาวิชาการบริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การอำนวยการ/การนำ การควบคุม/กำกับ/ติดตาม

  2. รูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสาขาวิชาการบริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติจริงตั้งแต่ระดับมากถึงมากที่สุด ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์กร ด้านการอำนวยการ และด้านการควบคุม/กำกับ/ติดตาม ค่าเฉลี่ย 4.23 3.68 3.89 และ 4.60 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โชติกา วงษ์ชวลิตกุล และคณะ. (2560). รูปแบบการบริหารหลักสูตรในมหาวิทยาลัยเอกชน. วารสารวิชาการรมยสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 15(3), 185-194.

เด่น ชะเนติยัง. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมมาภิบาลในสถานศึกษา สังกัดสำานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วารสารวิชาการคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย มหาวิทยาลัยมหิดล, 10(3), 550-558.

ปราโมทย์ จันทร์เรือง. (2552). เอกสารคําสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2551). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อาร์ แอนด์ ปรินท์ จำกัด.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อาร์ แอนด์ ปรินท์ จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รายงานการวิจัยเรื่อง ผลกระทบโลกาภิวัตน์ต่อการจัดการศึกษาไทยใน 5 ปี ข้างหน้า. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ออฟเซ็ท เพรส จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานการวิจัยเรื่อง ผลกระทบโลกาภิวัตน์ต่อการจัดการศึกษาไทยใน 5 ปีข้างหน้า. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ออฟเซ็ท เพรส จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัย แนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความ พร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ออฟเซ็ท เพรส จำกัด.

อภินันท์ จันตะนี และปรีชา วรารัตน์ไชย. (2551). การศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการหลักสูตรระดับปริญญาเอกชองสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

Cronbach, L. J. (1974). Essential of Psychological Testing. New York: Harper&Row.

Easton, William D. (1974). Survey of the Characteristics of the Successful Black Deans in Predominantly in the Southeastern United States. Dissertation Abstracts International.

Louis Allan. (1973). Successful Sport Management. United Sates: Michie.

Sherman , Mary D. (1984). The Role of the Academic Dean in the City of Colleges of Chicago : A Comparative Study. Dissertation Abstracts International.