การศึกษาวิเคราะห์ความมีอยู่ของบาปในพุทธปรัชญาเถรวาท

Main Article Content

พระมหาสาม อคฺคธมฺโม (แสงวงค์)

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความมีอยู่ของบาปใน  พุทธปรัชญาเถรวาท โดยแยกออกเป็น 3 ประเด็น 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องความมีอยู่ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องบาปในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์ความมีอยู่ของบาปใน   พุทธปรัชญาเถรวาท เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเชิงเอกสาร


          ผลการวิจัยพบว่า


          แนวคิดความมีอยู่ มี 2 ประเด็นในกาศึกษา คือ 1) ความมีอยู่ในปรัชญาตะวันตก ได้กล่าวถึงใน 2 ลักษณะคือ (1) ความมีอยู่เชิงอัตตวิสัย (2) ความมีอยู่เชิงภววิสัย 2) ความมีอยู่ในพุทธปรัชญาเถรวาทที่ได้กล่าวถึงความมีอยู่ใน 2 ลักษณะคือ (1) เชิงสมมติสัจจะ   (2) ปรมัตถสัจจะ แนวคิดเรื่องบาปในพุทธปรัชญาเถรวาท พิจารณาใน 3 ประเด็น คือ (1) บาปในฐานะกิเลส (2) บาปในฐานะกรรม (3) บาปในฐานะวิบาก ความมีอยู่ของบาปในพุทธปรัชญาเถรวาท พิจารณาใน 4 ประเด็น คือ (1) บาปเชิงภววิสัย มีอยู่ 2 ลักษณะคือ ก. ลักษณะบุคคลที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ ข.การกระทำบาปที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ ไม่มีเจตนาไม่มีบาป      (2) บาปเชิงอัตตวิสัย มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ก. ลักษณะบุคคลที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ ข. การกระทำบาปที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ (3) บาปเชิงสมมติสัจจะ (4) บาปเชิงปรมัตถสัจจะ พุทธปรัชญาเถรวาท เน้นทั้งที่ตัวบุคคลที่มีเจตนาหรือไม่มีเจตนา หรือจิตใจ การกระทำ ทั้ง 3 ทางคือ กาย วาจา และจิตใจ ในขณะเดียวกันยังมีจุดมุ่งหมายสูงสุดที่การละตัวตนหรืออัตตา ให้เข้าใจชีวิตและโลกทั้งในเชิงสมมติสัจจะและปรมัตถะสัจจะ หรือเรียกว่า วิถีโลกและวิถีอริยะ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2558). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 35), กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

พระมหาไพฑูรย์ สุทฺธวิธุโร (น้อยวัน). (2536). การวิเคราะห์เชิงปรัชญาเรื่องบาปพระพุทธศาสนาเถรวาท. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2540). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

สยาม ราชวัตร. (2553). วิธีอ้างเหตุผลเพื่อยืนยันความมีอยู่ของโลกหน้าในพระพุทธศาสนาเถรวาท. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎี สาขาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

James, George Alfred. Atheism, In Mircea Eliade (ed.). (1987). The Encyclopedia of Religion. New York: Macmillan.

Kant, I. (1933). Critique of Pure Reason, Translated by N. Kemp Smith (Second edition). London: Macmillan.