แนวทางการประยุกต์ใช้หลักความกตัญญูกตเวทีในสังคมไทยปัจจุบัน

Main Article Content

พระสมพล ถาวโร (ทองรุช)
พระครูโกศลอรรถกิจ .
พระครูโฆสิตวัฒนานุกูล .
สวัสดิ์ อโณทัย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางการประยุกต์ใช้หลักความกตัญญูกตเวทีในสังคมไทยปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของสังคมไทยปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาหลักความกตัญญูกตเวทีตามแนวที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักความกตัญญูกตเวทีในสังคมไทยปัจจุบัน ดำเนินการศึกษาโดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เน้นการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Research) นำเสนอข้อมูลแบบเชิงพรรณนา


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพปัญหาของสังคมไทยในปัจจุบัน สังคมไทยเป็นสังคมที่มีพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ดำเนินชีวิตไปตามแนวคำสอนของพุทธศาสนา สังคมไทยจึงเป็นสังคมที่ชาวโลกต่างยกย่องว่า เป็นสังคมที่น่าอาศัย มีน้ำใจงดงาม หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ปัจจุบันนี้ สภาพความเป็นสยามเมืองยิ้ม เริ่มจะจืดจางลงบ้าง อาศัยเหตุปัจจัยหลายประการ ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง หรืออุปนิสัยใจคอของผู้คน เริ่มห่างเหินไปนอกเส้นทางของพุทธศาสนา การดำเนินชีวิตขาดเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ จนกลายเป็นปัญหาของสังคมไทย

  2. หลักความกตัญญูกตเวทีตามแนวที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา สังคมไทยยกย่องบุคคลที่มีความกตัญญูกตเวที เป็นคุณธรรมข้อหนึ่ง ที่สามารถวัดความเป็นคนดีของบุคคลได้ เพราะเป็นรูปแบบของความประพฤติที่ดีงาม ความกตัญญูนี้เป็นพื้นฐานของคนดี เมื่อคนดีมีความกตัญญูเป็นพื้นฐานแล้ว คุณความดีทั้งหลายก็ไหลไปรวมอยู่ที่คนดีนั้น

          3. แนวทางการประยุกต์ใช้หลักความกตัญญูกตเวทีในสังคมไทยปัจจุบัน สังคมไทยควรปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าให้มาก คนไทยควรตอบแทนหรือแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธเจ้าด้วยการประพฤติดี ตั้งกาย วาจา ใจ ให้อยู่ในกรอบแห่งศีลธรรม จริยธรรมอันดีงาม ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน พระพุทธองค์ทรงหวังให้สัตว์โลกมีเมตตาต่อกันตั้งตนเป็นคนดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธรรมสภา. (2540). พุทธศาสนสุภาษิต ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

พระเทพญาณวิศิษย์ (ชัยทวี คุตฺตจิตฺโต). (2555). มงคล 38 ประการ ทางก้าวหน้าของชีวิต. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

พระเทพวิสุทธิเมธี (ปัญญานันทภิกขุ). (2536). กตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2541). พระในบ้าน. กรุงเทพมหานคร: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2536). กตัญญูกตเวที เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของโลก. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ). (2536). มงคล 38 (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: การพิมพ์พระนคร.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2541). ทางสายอิสรภาพของการศึกษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). คุณบิดามารดาสุดพรรณนามหาศาล (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์สวย จากัด.

พระอัครวินท์ อภิชาโต (หิรัณยาภาพงศ์). (2559). วิธีการประยุกต์ใช้คำสอนเรื่องกตัญญูกตเวทีกับวัยรุ่นในสังคมไทยปัจจุบัน. ใน พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร). (2546). มงคลยอดชีวิต ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.