การบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 2) สมรรถนะองค์การและพฤติกรรมการจัดการองค์การที่มีความสัมพันธ์และมีผลต่อการบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 ประชากรที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 445 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของทุกข้อคำถามมากกว่า 0.60 หาค่าความเชื่อมั่น โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1.การบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 อยู่ในระดับปานกลาง ( =3.19, SD =0.48)
2.สมรรถนะองค์การและพฤติกรรมการจัดการองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01
3.สมรรถนะองค์การและพฤติกรรมการจัดการองค์การ มีผลต่อการบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ในเชิงบวก ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์การบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ได้ร้อยละ 53.6
Article Details
References
กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5. (2560). รายงานผลการบริหาราชการตำรวจภูธรภาค 5 ประจำปีพุทธศักราช 2560. เรียกใช้เมื่อ 12 ตุลาคม 2561 จาก https://police5.go.th/p5/about-us/commander-Vision
พชร สันทัด และเชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล. (2557). การบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของสถานีตำรวจนครบาล. วารสารกระบวนการยุติธรรม, 7(1):1-15.
เภรินทร์ ยิ่งเภตรา และนฤมล นิราทร. (2558). ปัญหาและข้อจำากัดในกระบวนการคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์. ใน การประชุมวิชาการและนำาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ราชกิจจานุเบกษา. (2551). พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551. เรียกใช้เมื่อ 12 ธันวาคม 2560 จาก www.ratchakitcha.soc.go.th
วรเดช จันทรศร. (2556). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: พริกหวาน.
วรรณา แจ้งจรรยา. (2557). การบริหารงานด้านการปราบปรามการค้ามนุษย์ของกองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารรัฐกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.
สรายุทธ ยหะกร. (2558). การค้ามนุษย์ในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 5(2): 106-118.
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). รายงานผลการศึกษาวิจัยการสร้างและพัฒนากระบวนการทำงานเครือข่ายแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ที่เหยื่อเป็นเด็กและสตรีในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: เก็ทกู๊ดครีเอชั่น.
สุนทร เอกพันธ์ และคณะ. (2556). ปัญหาและอุปสรรคของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พุทธศักราช 2551 กรณีศึกษาตำรวจภูธร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 3(1): 79-85.
Barnard, C. I. (1966). Organization and management. Mass: Cambridge University Press.
Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16 (3), 297-334.
Drucker, P. F. (1999). Management Challenges for the 21st Century. New York: Harper Business.
Dubrin, A. J., & Ireland, R. D. (1993). Management and organization. (2nd ed.). Ohio: South Western Publishing Company.
Follett, M. P. (1977). Dynamic administration. New jersey: Clifton.
Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitude. New York: Wood Worth.
Office of the Under Secretary for Civilian Security, Democracy, and Human Right. (2015). Trafficking in person report July, 2015. U.S. Department of State Publication.