การแก้ไขปัญหาการดื่มสุราเชิงพุทธบูรณาการ

Main Article Content

อุดมชัย อมาตยกุล
พูนชัย ปันธิยะ
เทพประวิณ จันทร์แรง
พระครูสมุห์ธนโชติ จิรธมฺโม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสุราในพระพุทธศาสนาและหลักธรรมในการแก้ไขปัญหาการดื่มสุรา 2) เพื่อศึกษาปัญหาและการแก้ไขปัญหาการดื่มสุราของนักศึกษา 3) เพื่อวิเคราะห์วิธีการแก้ไขปัญหาการดื่มสุราเชิงพุทธบูรณาการของนักศึกษาเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยมีทั้งการวิจัยเอกสารและการวิจัยภาคสนาม ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม 3 ประเภทคือ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม


          ผลการวิจัยพบว่า


          พระพุทธศาสนามองว่า สุราเมรัยคือวัตถุที่ทำให้บุคคลผู้ใดดื่มเข้าไปแล้วเสียจริตก่อให้เกิดความประมาทพลาดพลั้งกับชีวิตของตนเองและส่วนรวม หลักธรรมในการแก้ไขปัญหาการดื่มสุรา คือ การการพัฒนาจิตใจให้สูงขึ้นด้วยหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ปัญหาในการดื่มสุรานั้นได้สร้างผลกระทบอย่างมากทั้งต่อตนเองทางด้านร่างกายและจิตใจและครอบครัวรวมถึงสังคมด้วย การแก้ไขปัญหาควรจะเป็นการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว สถาบันการศึกษา และสังคม การแก้ไขปัญหาการดื่มสุราเชิงพุทธบูรณาการของนักศึกษา สามารถใช้หลักไตรสิกขา โดยเป็นการแก้ไขใน 2 ทาง คือ 1) การแก้ปัญหาที่ตัวนักศึกษาเอง   2)การอบรมไตรสิกขาแก่ผู้ปกครองของนักศึกษา การอบรมไตรสิกขาให้แก่นักศึกษาซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างใน 3 คณะ ได้ผลดังนี้ คือ สำหรับนักศึกษา พบว่า นักศึกษาคณะที่ 2 มีความสามารถในการลดการดื่มสุรามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 83.33 รองลงมานักศึกษาคณะที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 75.00 เท่ากับนักศึกษาคณะที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 75.00 สำหรับผู้ปกครอง พบว่า ความสามารถในการดูแลบุตรหลานในการลดละเลิกการดื่มสุรา พบว่า หลังการอบรมความสามารถในการดูแลบุตรหลานในการลดละเลิกการดื่มสุรา ผู้ปกครองศึกษาคณะที่ 2 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 83.33 รองลงมาผู้ปกครองนักศึกษาคณะที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 75.00 เท่ากับผู้ปกครองนักศึกษาคณะที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 75.00 และผลจากการนัดพูดคุยนักศึกษาหลังจากการปฏิบัติทุกคนคือสามารถลดการดื่มสุราลงได้ ส่วนผู้ปกครองช่วยกระตุ้นเตือนตัวนักศึกษาที่เป็นบุตรหลานให้ปฏิบัติตามหลักไตรสิกขาอยู่เสมอ

Article Details

How to Cite
อมาตยกุล อ., ปันธิยะ พ., จันทร์แรง เ., & จิรธมฺโม พ. (2019). การแก้ไขปัญหาการดื่มสุราเชิงพุทธบูรณาการ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(5), 2213–2232. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/192347
บท
บทความวิจัย

References

บัณฑิต ศรไพศาล และคณะ. (2551). รายงานสถานการณ์สุราประจำปี พ.ศ.2551. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

บัณฑิต ศรไพศาล, จุฑาภรณ์ แก้วมุงคุณ และ กมลา วัฒนพร. (2553). รายงานสถานการณ์ สุราประจำปี พ.ศ. 2553. เรียกใช้เมื่อ 24 ตุลาคม 2558 จาก http:// www.cas.or.th

พระครูนิวาตวิริยธรรม (เพียร ตปคุโณ). (2553). รูปแบบการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาแก้ปัญหาการดื่มสุรา. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พระไตรปิฎก: สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2539. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มานิต นพอมรบดี. (2552). วิกฤตสังคมไทยปัญหาระดับชาติที่ต้องร่วมกันแก้ไข ตอน 1. เรียกใช้เมื่อ 15 ธันวาคม 2561 จาก https://www.sanook.com/news/849997/

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2554). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2554. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.