แนวทางการนำหลักสติปัฏฐาน 4 มาเยียวยาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

Main Article Content

พระวีรพงศ์ กลฺยาโณ (บรรจงละเอียด)
พระครูโกศลอรรถกิจ .
พระครูโฆสิตวัฒนานุกูล .

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 2) เพื่อศึกษาหลักสติปัฏฐาน 4 ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาและ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการนำหลักสติปัฏฐาน 4 เยียวยาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการศึกษาเอกสาร (Documentary Research) จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จากพระไตรปิฎก สำรวจข้อมูลจากตำราวิชาการ หนังสือ เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


          ผลการวิจัยพบว่า


          ภาวะซึมเศร้า หมายถึง ภาวะจิตใจที่แสดงออกถึงความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น อารมณ์เศร้าไม่มีความสุข เบื่อหน่าย หดหู่ ท้อแท้ สิ้นหวัง เซื่องซึม นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ขาดสมาธิ วิตกกังวลมองโลกในแง่ร้าย โรคนี้เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ภาวะซึมเศร้าธรรมดาจนถึงภาวะซึมเศร้าขั้นรุนแรง ซึ่งโรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติของจิตใจ ไม่มีความพึงพอใจในกิจกรรมที่เคยชอบ ส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตและอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ในที่สุด ในทางการแพทย์และในทางพระพุทธศาสนา แนวความคิดเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าจัดเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง มีสาเหตุเกิดขึ้นได้จากทั้งทางกายและทางใจ แต่เมื่อเกิดโรคซึมเศร้าขึ้นแล้วต้องมีการรักษาละเยียวยา หลักการในแง่ของการเยียวยาผู้ป่วย คือ การดูแลทั้งร่างกายและจิตใจอย่างสมดุล นั่นคือ การปฏิบัติตามทางสายกลาง ให้ความสำคัญทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของหลักสติปัฏฐาน 4 ที่สอนวิธีปฏิบัติต่อกาย เรียกว่ากายานุปัสสนา ปฏิบัติต่ออารมณ์ความรู้สึก เรียกว่า เวทนานุปัสสนา ปฏิบัติต่อจิต เรียกว่าจิตตานุปัสสนา ปฏิบัติต่อเรื่องที่เกิดขึ้นหรือต่อความจริงที่ปรากฏ เรียกว่าธัมมานุปัสสนา วิธีการเจริญสติในสติปัฏฐาน 4 สามารถใช้กับการเยียวโรคซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการวิจัยหลักของการฝึกสติ สามารถใช้ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การเดินจงกรม การกำหนดลมหายใจเข้า ลมหายใจออก การพิจารณารูป-นาม การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน วิธีการเหล่านี้ใช้ในการฝึกสมาธิเจริญสติได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระมหาทวี มหาปญฺโญ (ละลง). (2556). วิเคราะห์อายุสสธรรม 5: หลักธรรมที่ช่วยให้อายุยืน 5 ประการ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. ใน รวมบทความวิจัยการสัมมนาผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ดีเด่น. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รีดเดอร์ส ไดเจสท์. (2546). บำบัดโรคด้วยการแพทย์ทางเลือก. กรุงเทพมหานคร: รีดเดอร์ส ไดเจสท์.

ศิริลักษณ์ วรไวย์. (2557). การศึกษาธรรมโอสถในพระพุทธศาสนา. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร). (2540). อานุภาพแห่งกรรม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบันลือธรรม.

สมภพ เรืองตระกูล. (2548). จิตเวชศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์.

สายฝน เอกวรางกูร. (2553). รู้จัก เข้าใจ ดูแล ภาวะซึมเศร้า. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสเอเชียเพรส จํากัด.

สำนักงานพัฒนาโครงการแนวทางการบริหารสาธารณสุข. (2549). แนวทางปฏิบัติบริการสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: บริษัท กิตติชัย พริ้นติ้ง จํากัด.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2539). พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหากุฏราชวิทยาลัย.