แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการประชุมสภาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Main Article Content

วิไลวรรณ อิศรเดช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์การประชุมสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการประชุมสภาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ3) เพื่อหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการประชุมสภาของสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept Interview) ผู้ให้ข้อมูลหลัก โดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive selection) ซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละกลุ่มสภามหาวิทยาลัยจำนวน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้บริหารสภามหาวิทยาลัย 2) กลุ่มกรรมการสภามหาวิทยาลัย และ 3) กลุ่มผู้ที่มีเกี่ยวข้องกับสภามหาวิทยาลัยทั้งหมดจำนวน 13 คน


 


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. ศึกษาสภาพการณ์การประชุมสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วย 1) กระบวนการทำงานของสภา ได้แก่ บทบาทของสภาการประชุมการติดตามผลตามมติ และปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน 2) กลไกการประชุมของสภา ได้แก่ การจัดระเบียบวาระการใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพและข้อมูลและเอกสารประกอบการพิจารณา และ 3) ผลดำเนินงานของสภา ได้แก่ สิ่งที่ปรับปรุงและพัฒนาแล้วคณะทำงานร่วมกับสภาและการประเมินผลและติดตามผล

  2. กลไกการประชุมสภา ได้แก่ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการประชุมสภาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพิ่มเติมดังนี้ ข้อมูลและเอกสารประกอบการพิจารณาที่ชัดเจนประกอบด้วย 1) ปัจจัยจูงใจ ได้แก่ ความสำเร็จ การยอมรับ การปฏิบัติงานและความรับผิดชอบ และ 2) ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ความสัมพันธ์ ความมั่นคง สภาพแวดล้อมและการทำงานเป็นทีม

  3. แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการประชุมสภาของสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วย 1) การมอบอำนาจการตัดสินใจและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 2) การตั้งเป้าหมายในการทำงานให้มีความชัดเจนและถ่ายทอดเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม 3) การปรับปรุงวิธีการทำงานให้เหมาะสมกับความสามารถ 4) ระยะเวลาที่ต้องถูกต้องและเหมาะสมและ 5) การมีหลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นวะรัตน์ พึ่งโพธิ์สภ. (2552). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด. ภาคนิพนธ์พัฒนาบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

นารินทร์ จันทร์สุวรรณ. (2551). ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาล ตำบลสามโก้ และเทศบาลตำบลศาลเจ้าโรงทอง จังหวัดอ่างทอง. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ผู้ให้ข้อมูลท่านที่ 1. (29 ตุลาคม 2561). การประชุมสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (วิไลวรรณ อิศรเดช, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูลท่านที่ 2. (29 ตุลาคม 2561). การประชุมสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (วิไลวรรณ อิศรเดช, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูลท่านที่ 3. (29 ตุลาคม 2561). การประชุมสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (วิไลวรรณ อิศรเดช, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูลท่านที่ 4. (29 ตุลาคม 2561). การประชุมสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (วิไลวรรณ อิศรเดช, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูลท่านที่ 5. (29 ตุลาคม 2561). การประชุมสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (วิไลวรรณ อิศรเดช, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูลท่านที่ 6. (29 ตุลาคม 2561). การประชุมสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (วิไลวรรณ อิศรเดช, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูลท่านที่ 7. (29 ตุลาคม 2561). การประชุมสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (วิไลวรรณ อิศรเดช, ผู้สัมภาษณ์)

รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ. (2559). ประมวลผลหลักสูตรธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันคลังสมองของชาติ.

วิจิตร ศรีสอ้าน. (2554). การปฏิรูปสภามหาวิทยาลัย: บทบาทและภารกิจของเลขานุการสภามหาวิทยาลัย. วารสารจดหมายข่าวธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย สถาบันคลังสมอง, 3 (1) 6-8.

สุดใจ ทัศจันทร์. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการจัดการ.

อรรถสิทธิ์ ตันติยุทธ์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานกองบำรุงรักษาการประปานครหลวง. มหาวิทยาลัยสยาม: สารนิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม บัณฑิตวิทยาลัย.