ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลผู้ต้องสงสัยของคดีความผิดตามกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

Main Article Content

ฉัตตมาศ วิเศษสินธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สิทธิของบุคคลผู้ต้องสงสัยซึ่งกระทำความผิดตามกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงที่ยังไม่มีสิทธิเทียบเท่าสิทธิของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างสิทธิของบุคคลผู้ต้องสงสัยตามกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงของประเทศไทยและต่างประเทศ 3) เพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาสิทธิของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและสิทธิของบุคคลผู้ต้องสงสัยซึ่งกระทำความผิดตามกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงของประเทศไทยและต่างประเทศ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ที่ใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง


                   ผลการศึกษาพบว่า


          สิทธิของบุคคลผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดตามกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงยังไม่เทียบเท่าสิทธิของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้แก่ สิทธิที่จะถูกสันนิษฐานว่าบุคคลบริสุทธิ์จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์โดยปราศจากข้อสงสัยว่ามีความผิด สิทธิที่จะได้รับรู้ในข้อหาและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิด สิทธิตามหลักการได้รับการแจ้งเตือน (Miranda Warning) และสิทธิที่จะไม่ให้การ (Right to Silence) สิทธิของบุคคลผู้ต้องสงสัยกับการช่วยเหลือทางกฎหมายและการพบผู้ที่ตนไว้วางใจ สิทธิของบุคคลผู้ต้องสงสัยเด็กหรือเยาวชน และสิทธิของบุคคลผู้ต้องสงสัยผู้หญิง จากการศึกษาความแตกต่างเรื่องสิทธิของบุคคลผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดตามกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงของประเทศไทยและสิทธิของบุคคลผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดตามกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงของต่างประเทศก็พบว่า แนวทางในการปฏิบัติต่อบุคคลผู้ต้องสงสัยในกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงของต่างประเทศส่วนใหญ่ กลับมีความสอดคล้องกับสิทธิของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศไทยทุกประเด็น รวมทั้งมีการรับรองคุ้มครองสิทธิเสรีภาพเป็นหลักแต่จะมีข้อยกเว้นหรือเงื่อนไขในการจำกัดสิทธิไว้ในกรณีจำเป็นต้องปกป้องเพื่อส่วนรวม และมีโทษสำหรับเจ้าหน้าที่หากกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงความแตกต่างเรื่องสิทธิของบุคคลผู้ต้องสงสัยผู้หญิงที่ไม่มีกำหนดไว้เท่านั้น ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะพบว่าควรนำผลจากการวิจัยไปใช้ในการปรับปรุงกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กวีวรรณ์ จีนขจร. (2550). สิทธิที่จะนิ่งของผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญา. ในสารนิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2547). หลักกฎหมายว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2551). คำอธิบายหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการดำเนินคดี ในขั้นตอนก่อนการพิจารณา. กรุงเทพมหานคร: จิรรัชการพิมพ์.
คณิต ณ นคร. (2555). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
คะนึง ฦาไชย. (2551). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเล่ม 1. กรุงเทพมหานคร.
จรัญ ภักดีธนากุล. (2553). กฎหมายลักษณะพยาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.
ณรงค์ ใจหาญ. (2556). หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
UK government. (2006). The Terrorism Act 2006. UK: The Stationery OYce Limited under the authority and superintendence of carol Tullo, Controller of Her Majesty's Stationery OYce and Queen's Printer of Acts of Parliament.