กลยุทธ์การบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลในการบริหาร 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 รวมทั้งสิ้น 342 คนแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่า IOC 0.80 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.980 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า PNI
ผลการวิจัยพบว่า
- องค์ประกอบกลยุทธ์การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 มี 7 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) ด้านความรับผิดชอบ 2) ด้านความโปร่งใส 3) ด้านนิติธรรม 4) ด้านความคุ้มค่า 5) ด้านประสิทธิภาพ 6) ด้านการมีส่วนร่วมและ 7) ด้านคุณธรรม
- สภาพปัจจุบันของกลยุทธ์การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของกลยุทธ์การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
- กลยุทธ์การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 ประกอบด้วย 7 กลยุทธ์ได้แก่กลยุทธ์ที่ 1 เสริมสร้างหลักนิติธรรมขององค์กร มี 4 มาตรการ 3 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 2 การเสริมสร้างการมีความรับผิดชอบมี4 มาตรการ 4 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 3 เพิ่มความมีประสิทธิภาพการทำงานมี 3 มาตรการ 4 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 4 เพิ่มความคุ้มค่าในการทำงานมี 3 มาตรการ 4 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาการมีส่วนร่วมของบุคลากรมี 4 มาตรการ 3 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสริมความโปร่งใสมี 3 มาตรการ 5 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 7 พัฒนาระบบคุณธรรมอย่างยั่งยืนมี 5 มาตรการ 7 ตัวชี้วัด
Article Details
How to Cite
อำนาจดี ว., & แพงไทย ศ. (2019). กลยุทธ์การบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(8), 4106–4118. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/188250
บท
บทความวิจัย
References
กกระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับพ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ (ร.ส.พ.).
จิรวรรณ ภักดีบุตร และประกอบ สุทธิกาโมทย์. (2550). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับธรรมาภิบาล. กรุงเทพมหานคร: คณะความมั่นคงแห่งชาติ.
ธีระ รุญเจริญ. (2547). สภาพปัจจุบันและปัญหาการมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษาของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน รายงานการวิจัย. สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.
ไพโรจน์ พรหมมีเนตร. (2543). การปฏิบัติงานของคณะกรรมการการศึกษาสังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิภาส ทองสุทธิ์. (2551). การบริหารจัดการที่ดี. กรุงเทพมหานคร: อินทภาษ.
วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2557). องค์ประกอบของธรรมาภิบาลในโรงเรียน. วารสารนักบริหาร, 34(1), 80-88.
ศราวุธ คำแก้ว. (2559). รูปแบบการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการระบบคุณภาพโรงเรียนสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว, 10(2), 128-141.
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – พ.ศ.2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวการดำเนินงานการมีส่วนร่วมการนบริหารการจัดการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สุดจิต นิมิตกุล. (2543). “กระทรวงมหาดไทยกับการบริหารจัดการที่ดี”การปกครองที่ดี (Good Governanc) . กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.
อริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า. (2548). ธรรมาภิบาลกับหลักสิทธิเสรีในรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ลักษณ์.
จิรวรรณ ภักดีบุตร และประกอบ สุทธิกาโมทย์. (2550). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับธรรมาภิบาล. กรุงเทพมหานคร: คณะความมั่นคงแห่งชาติ.
ธีระ รุญเจริญ. (2547). สภาพปัจจุบันและปัญหาการมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษาของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน รายงานการวิจัย. สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.
ไพโรจน์ พรหมมีเนตร. (2543). การปฏิบัติงานของคณะกรรมการการศึกษาสังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิภาส ทองสุทธิ์. (2551). การบริหารจัดการที่ดี. กรุงเทพมหานคร: อินทภาษ.
วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2557). องค์ประกอบของธรรมาภิบาลในโรงเรียน. วารสารนักบริหาร, 34(1), 80-88.
ศราวุธ คำแก้ว. (2559). รูปแบบการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการระบบคุณภาพโรงเรียนสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว, 10(2), 128-141.
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – พ.ศ.2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวการดำเนินงานการมีส่วนร่วมการนบริหารการจัดการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สุดจิต นิมิตกุล. (2543). “กระทรวงมหาดไทยกับการบริหารจัดการที่ดี”การปกครองที่ดี (Good Governanc) . กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.
อริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า. (2548). ธรรมาภิบาลกับหลักสิทธิเสรีในรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ลักษณ์.