กระบวนการเรียนรู้ตามหลักพุทธจิตวิทยา ในการพัฒนานักเรียนประถมศึกษา

Main Article Content

สายหยุด มีฤกษ์

บทคัดย่อ

กระบวนการเรียนรู้ เป็นปรากฏการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างมีระเบียบเป็นขั้นตอนทำให้ฉลาดลึกซึ้ง สามารถเข้าใจตนเองและเห็นความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องระหว่างชีวิตตนกับสรรพสิ่งทั้งหลาย กระบวนการเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เมื่อบุคคลมีการสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ตั้งคำถาม แสวงหาความรู้จากสิ่งต่าง ๆ สร้างองค์ความรู้ เรียนรู้เพื่อสื่อสารองค์ความรู้ออกมาสู่สังคม เพื่อให้เกิดประโยชน์กับสังคม ส่วนหลักพุทธจิตวิทยา คือ จิตวิทยาแนวพุทธที่เกี่ยวข้องกับจิต และกระบวนการทำงานของจิต พระพุทธศาสนาถือว่าจิตนั้นมีพลังควบคุมกาย จิตกับกายจะต้องทำงานแบบอิงอาศัยซึ่งกันและกัน


          กระบวนการการเรียนรู้ตามหลักพุทธจิตวิทยาในการช่วยการพัฒนานักเรียนประถมศึกษา ให้มีความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับโลกฝ่ายวัตถุ (กายภาวนา) การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับโลกฝ่ายสังคม (ศีลภาวนา) การพัฒนาจิตใจ (จิตภาวนา) และการพัฒนาปัญญา (ปัญญาภาวนา) ซึ่งจะเป็นการพัฒนาให้นักเรียน รู้แก้ปัญหาได้ดีขึ้น สามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ของตัวเองได้ และการแสดงออก เป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้วยหลักพุทธธรรม แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง คือ 1) การปรับปรุงพฤติกรรมด้วยศีล 2) การปรับปรุงพฤติกรรมด้วยจริต หรือจริยา 3) การปรับปรุงพฤติกรรมด้วยกรอบเสขิยวัตร คือข้อปฏิบัติสำหรับสมณเพศ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมบุคลิก ความศรัทธา น่านับถือ น่าเลื่อมใส และเป็นที่ไว้วางใจ นอกจากนี้กระบวนการเรียนรู้ตามหลักพุทธจิตวิทยามุ่งพัฒนาให้นักเรียนสมารถใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันตามความสามารถของแต่ละบุคคลได้อย่างถูกต้อง การฝึกหัด ฝึกฝน พัฒนาตนไม่เฉพาะการใฝ่แสวงหาความรู้เท่านั้น ยังสามารถเรียนรู้ด้วยสื่อสัมพันธ์ทางอินทรีย์ทั้ง 6 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันเป็นช่องทางที่เอื้อต่อบรรยากาศสังคมแห่งการเรียนรู้ และเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระครูปลัดมารุต วรมงฺคโล. (2561). การศึกษาวิเคราะห์พุทธจิตวิทยาในพระไตรปิฎก. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(พิเศษ).

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเผด็จ ทตฺตชีโว. (2530). เสขิยวัตร : ต้นบัญญัติของมารยาทไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์นิวไวเต็ก.

พระไพศาล วิสาโล. (2544). กระบวนการเรียนรู้แบบพุทธ. วารสารเสขิยธรรม, 44(11), 13-17.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรวิทย์ วศินสรากร. (2546). กระบวนการเรียนรู้อย่างพุทธ. วารสารสารานุกรมศึกษาศาสตร์, 28, 173-175.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2542). การพัฒนาการเรียนรู้ ตามแนวพุทธศาสตร์ ทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.