การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอายุวัฒนะ ในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

วรพรรณ จันทรากุลศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอายุวัฒนะของจังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อสร้างรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอายุวัฒนะของจังหวัดนครราชสีมา และ 3) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอายุวัฒนะของจังหวัดนครราชสีมา การศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการสังเคราะห์ ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปจัดสนทนากลุ่มเพื่อระดมความคิดเห็นในการออกแบบกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงอายุวัฒนะ แล้วนำมาสร้างแบบสัมภาษณ์เพื่อนำไปสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อนำมาสร้างแบบจำลองรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอายุวัฒนะ


 


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอายุวัฒนะ เป็นรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ทำให้ได้ประโยชน์และเป็นแนวทางการดำรงชีวิตอย่างสมดุล อันจะส่งผลให้มีอายุยืนยาว โดยปราศจากโรคภัย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านอาหารและโภชนาการ ด้านสุขภาพกาย และด้านจิตใจ

  2. การสร้างรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอายุวัฒนะ พบว่า ด้านสภาพแวดล้อม ควรมีการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสสัมผัสอากาศที่บริสุทธิ์ เช่น กิจกรรมปลูกต้น เดินป่า ปั่นจักรยาน เป็นต้น ด้านอาหารและโภชนาการ ควรมีการจัดกิจกรรมที่ทำให้นักท่องเที่ยวได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ปลอดสารพิษ ตามหลักโภชนาการที่ดีเช่น กิจกรรมอาหารตามกรุ๊ป กิจกรรมกินผัก 5 สี เป็นต้น ด้านสุขภาพกาย ควรมีการจัดกิจกรรมที่สร้างเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง มีความยืดหยุ่น เช่น การเดินชมฟาร์มเห็ด การเล่นโยคะยืดหยุ่นร่างกาย เป็นต้น และด้านจิตใจ ควรมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวมีสุขภาพจิตที่ดี ได้ผ่อนคลายความเครียด เช่น การฝึกสมาธิ การเรียนรู้ปรัชญาชีวิต เป็นต้น

  3. การสังเคราะห์รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอายุวัฒนะของจังหวัดนครราชสีมานี้ เรียกว่า “EMBN”โมเดล ประกอบด้วย ด้านสภาพแวดล้อม ด้านอาหารและโภชนาการ ด้านการเสริมสร้างสุขภาพกาย และด้านการเสริมสร้างสมดุลทางจิตใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนิดา ทวีศรี. (29 มกราคม 2562). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. เข้าถึงได้จาก www.l3nr. org/post/166878

ชอบ สร้อยจิตต์. (6 มกราคม 2562). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอายุวัฒนะในจังหวัดนครราชสีมา. (วรพรรณ จันทรากุลศิริ, ผู้สัมภาษณ์)

ธราธร ดวงแก้ว และหิรัญญา เดชอุดม . (2552). พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. ใน รายงานวิจัยโปรแกรมวิชาสาธารณสุชชุมชน คณะวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.

พระสุภาระ ทนฺตมโน. (8 มกราคม 2562). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอายุวัฒนะในจังหวัดนครราชสีมา. (วรพรรณ จันทรากุลศิริ, ผู้สัมภาษณ์)

มหาวิทยาลัยโอกินาว่า. (3 กรกฎาคม 2561). Okinawa Cetenarian Study. เข้าถึงได้จาก www.okicent.org

ศตรรฆ ประจงค์, วรรณวีร์ บุญคุ้ม และนรินทร์ สังข์รักษา. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. Veridian E-Journal, Silpakorn University, ปีที่ 11(2), 1526.

ศศิพงศ์ บุญยงค์. (1 กุมภาพันธ์ 2562). Medical Tourism: เที่ยวเทรนด์ใหม่ เที่ยวเชิงสุขภาพ. เข้าถึงได้จาก https://horizon.sti.or.th/node/5

สถาพร งามอุโฆษ ผศ.ดร. (8 มกราคม 2562). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอายุวัฒนะในจังหวัดนครราชสีมา. (วรพรรณ จันทรากุลศิริ, ผู้สัมภาษณ์)

สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา ระยะ 4 ปี (พ.ศ.2561 – 2564) ทบทวนปี พ.ศ.2560. นครราชสีมา: สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). ยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฉบับที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

อรนภา ทัศนัยนา. (2559). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬาสาหรับผู้สูงอายุโดยมหาวิทยาลัย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัฏฐมา บุญปาลิต ดร. (5 มกราคม 2562). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอายุวัฒนะในจังหวัดนครราชสีมา. (วรพรรณ จันทรากุลศิริ, ผู้สัมภาษณ์)