การบริหารจัดการผ้าทอพื้นเมืองเพื่ออัตลักษณ์ที่โดดเด่นในอาเซียน

Main Article Content

สุภางค์พิมพ์ คล้ายธานี
พระราชสิทธริเวที .
พระครูศรีเมธาภรณ์ .
พระมหานันทวิทย์ แก้วบุตรดี

บทคัดย่อ

การบริหารจัดการผ้าทอพื้นเมืองเพื่ออัตลักษณ์ที่โดดเด่นในอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการผ้าทอพื้นเมืองเพื่ออัตลักษณ์ที่โดดเด่นในอาเซียน (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการผ้าทอพื้นเมืองเพื่ออัตลักษณ์ที่โดดเด่นในอาเซียน (3) เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารจัดการผ้าทอพื้นเมืองเพื่ออัตลักษณ์ที่โดดเด่นในอาเซียนระเบียบวิธีวิจัยเป็นเชิงคุณภาพมีการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่างผ้าทอพื้นเมืองจังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดพิจิตร จำนวน 26 รูป/คน ได้การสนทนากลุ่ม 11 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสัมภาษณ์


          ผลการวิจัยพบว่า


          อัตลักษณ์ที่โดดเด่นผ้าทอนั้นอยู่ที่กระบวนการผลิตและเทคนิคของแต่ละสถานที่ของกลุ่มผ้าทอเพราะเหตุนี้จึงทำให้กลุ่มผ้าทอพื้นเมืองไทยมีผ้าทอที่มีความสวยงามและเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของอาเซียนทำให้ผ้าทอพื้นเมืองไทยนั้นเป็นผ้าที่อาเซียนมีความสนใจในความสวยงามของผ้าทอไทยและเป็นสินค้าที่ส่งออกและเป็นสินค้าที่ทำให้เป็นที่รู้จักว่าผ้าทอพื้นเมืองไทย


          การบริหารจัดการผ้าทอพื้นเมืองเพื่ออัตลักษณ์ที่โดดเด่นในอาเซียน ซึ่งมีหลักพุทธธรรมการบริหารจัดการผ้าทอพื้นเมืองเพื่ออัตลักษณ์ที่โดดเด่นในอาเซียน มีหลักพุทธธรรม ดังนี้ 1) สังคหวัตถุ 4 2) โภควิภาค 4 เป็นหลักพุทธธรรมที่สามารถนำไปใช้จริงในการบริหาร และส่งเสริมผ้าทอพื้นเมืองไทยทำให้ผ้าทอพื้นเมืองมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นที่สนใจในประเทศอาเซียน และระดับโลกจนถึงปัจจุบัน


          รูปแบบการบริหารจัดการผ้าทอพื้นเมืองเพื่ออัตลักษณ์ที่โดดเด่นในอาเซียน เป็นรูปแบบที่มีการบริหารจัดการผ้าทอ 3 ส่วน 1) การบริหารจัดการผ้าทอพื้น 2) การส่งเสริมและพัฒนาศิลปะการทอผ้าไทย 3) ขั้นตอนการผลิตผ้าทอที่มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นในอาเซียน ตามรูปแบบโมเดล Step Promote Buddhism Model จากผลวิจัยแล้วนั้นเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพสามารถนำไปบริหารกลุ่มผ้าทอจังหวัดอื่น ๆ ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมหม่อนไหม. (2561). “สถิติด้านหม่อนไหม”. เรียกใช้เมื่อ 25 มีนาคม 2561 จาก https://bit.ly/2DuNXGc

ปรัชญ์ หาญกล้า. (2557). การออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีเพื่อพัฒนางานพื้นถิ่นให้เป็นสินค้าระดับชาติโดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาผ้าทอมือ. รายงานการวิจัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2542). การศึกษาเพื่ออารยธรรมที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก จำกัด.

พอพันธ์ อุยยานนท์. (2561). “การแก้ไขสนธิสัญญาเบาริงฯลฯ กับ อธิปไตยทางการคลัง”. เรียกใช้เมื่อ 25 มีนาคม 2561 จาก https://bit.ly/2KcXAej

วีรนันท์ พาวดี. (2558). ต้นทุนและผลตอบแทนจากผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองลายภูเขาของกลุ่มเย็บผ้าบ้านสันหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุไรวรรณ รักผกาวงศ์. (2559). การพัฒนาระบบสารสนเทศสนับสนุนส่งเสริมการตลาดด้านการขายผ้าทอมือ จังหวัดพิษณุโลก. รายงานการวิจัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.