ทุนทางสังคม : แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชน ของชุมชนลาวโซ่ง ในจังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

พระครูโพธิสุวรรณคุณ .

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทุนทางสังคมของชุมชนลาวโซ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี  2) ศึกษาศักยภาพในการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนของชุมชนลาวโซ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี 3) แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนของชุมชนลาวโซ่ง จังหวัดสุพรรณบุรี  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการ ศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร (Documentary Study) โดยการศึกษาจากหนังสือวารสารเอกสารทางวิชาการ การสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต รวมถึงการศึกษาจากงานวิจัย และวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง  การศึกษาภาคสนาม (Field Study) โดยการเก็บข้อมูลในพื้นที่วิจัย ใช้แนวคำถามเป็นเครื่องมือหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In – depth Interview)  จำนวน  47 รูป/ คน   และมีการเข้าร่วมสังเกตการณ์ และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักวิชาการ พระสงฆ์ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรชุมชน ผู้นำชุมชน และผู้ประกอบการ  รวมจำนวน 17 รูป/คน นำข้อมูลเชิงประจักษ์ มาประกอบการวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามลำดับ


        ผลการวิจัยพบว่า


  1. ลักษณะทุนทางสังคมของชุมชนลาวโซ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า  เป็นลักษณะทุนทางสังคมที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม  ใน 4 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ 1) องค์ประกอบด้านมนุษย์   2) องค์ประกอบด้านสถาบันและองค์กรชุมชน   3) องค์ประกอบด้านวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ  และ 4) องค์ประกอบด้านภูมิปัญญาและวิถีชุมชน

  2. ศักยภาพในการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนของชุมชนลาวโซ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า ศักยภาพชุมชนที่เหมาะสมในการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนลาวโซ่ง  มี 4  ด้าน คือ  1) ด้านทรัพยากรชุมชน  2)ด้านองค์กรชุมชนและผู้นำ 3) ด้านการจัดการตนเองและการมีส่วนร่วม และ 4) ด้านเครือข่ายและการประสานงาน

  3. แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนของชุมชนลาวโซ่ง จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า กิจกรรมการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ควรมีสร้างเครือข่ายที่สามารถทำงานเชื่อมโยงกันทั้งภาคประชาชนหรือองค์กรชุมชนในพื้นที่ ร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชนผู้ประกอบการเอกชน เพื่อเป็นเครือข่ายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตชุมชนและวัฒนธรรมชุมชนลาวโซ่ง ในมิติต่าง ๆ คือ มิติการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ มิติการท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรม และ มิติการท่องเที่ยววิถีชุมชนและธรรมชาติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ททท. (2558). ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: ททท.

ทิพาพร พิมพ์พิสุทธิ์. (2550). “ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมบริเวณลุ่มน้ำปิง จ.ตาก เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน” รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประชาธิป กะทา. (2547). “การศึกษาทุนทางสังคมและบทบาทในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมด้านสุขภาพ : กรณีศึกษาประชาคมสุขภาพหมู่บ้านแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย”. รายงานการวิจัย: ส่วนวิจัยและพัฒนาสถาบันและวัฒนธรรมศึกษา.

ประยุทธ สืบอารีพงศ์. (2551). โซ่งดอนมะนาว : วิถีชีวิตชุมชนชาวไทยทรงดำบ้านดอนมะนาว อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพมหานคร: เพชรเกษม พริ้นติ้ง กรุ๊ป.

ศักดิ์ศิริ นันตะสุขและคณะ. (2550). “การพัฒนาศักยภาพของคนในท้องถิ่นในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนในกลุ่มจังหวัดอีสานใต้”รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนนุกิจ. (2555). พจนานุกรมศัพท์การวิจัยและสถิติ. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุธาการพิมพ์.

สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2540). โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism). กรุงเทพมหานคร : สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน.

สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี. (2559). เอกสารเผยแพร่. ม.ป.ท.

เสกสรร คำมูลดี และคณะ. (2547). “กระบวนการเรียนรู้เพื่อการพึงตนเองอย่างยังยืนของชุมชนบ้านแม่หวาน ตำบลป่าเมียง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่” รายงานวิจัย. ชุดโครงการการบริหารจัดการท้องถิ่น: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).