รูปแบบการฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ตามหลักพุทธบูรณาการ

Main Article Content

มงคล สามารถ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ตามหลักพุทธบูรณาการ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ตามหลักพุทธบูรณาการ เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Research & Development : R & D) ผู้วิจัยได้ศึกษาโดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Research Method) คือ ศึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพและศึกษาการวิจัยเชิงปริมาณ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) จำนวน 26 คน การสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 9 รูป/คน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ทดลองฝึกอบรมกลุ่มอย่าง จำนวน 30 คน และตรวจสอบตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมิน 4 ด้าน โดยใช้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 384 คนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


        ผลการวิจัยพบว่า


1. การฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร พบว่า 1) ขั้นวิเคราะห์ความต้องการ 2) ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์ 3) ขั้นการสร้างหลักสูตรฝึกอบรม 4) ขั้นการเลือกกิจกรรมและเทคนิคฝึกอบรม 5) ขั้นการออกแบบเพื่อวัดและประเมินผลก่อนและหลังการฝึกอบรม 6) ขั้นการดำเนินการฝึกอบรม 7) การวัดและการประเมินผลหลังการฝึกอบรมความต้องการด้านการฝึกอบรม 4 ด้าน คือ 1) ด้านการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย ความสามารถในการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่จำกัด, การคิดค้นวิธีการถ่ายทอดความรู้, การคิดค้นวิธีการสร้างความผ่อนคลายให้กับผู้เรียน 2) ด้านการพัฒนาตนเอง ประกอบด้วย การควบคุมอารมณ์, วินัยหรือความรับผิดชอบต่อหน้าที่ 3) ด้านการพัฒนาความสามัคคี ประกอบด้วย การทำงานเป็นทีม, การเสียสละ, ความเข้าอกเข้าใจกัน 4) ด้านการพัฒนาการสื่อสาร ประกอบด้วยการสื่อสารกับผู้เรียนการสื่อสารภายในโรงเรียน, การสื่อสารระหว่างสถานศึกษาที่ตนเองสังกัดกับสถานศึกษาอื่น


2. การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ตามหลักพุทธบูรณาการ ผลการทดลองภาคสนามการฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 30 คน โดยการบูรณาการ หลักอริยสัจ 4 และมรรคมีองค์ 8 ในการฝึกอบรม 4 ด้าน พบว่าด้านการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการพัฒนาความสามัคคี และด้านการพัฒนาการสื่อสารมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยหลังเข้าร่วมการฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ยโดยรวมทุกด้านสูงกว่าก่อนเข้าร่วมการฝึกอบรม


3. การตรวจสอบรูปแบบการฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ตามหลักพุทธบูรณาการโดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่าความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ตามลำดับ และมีองค์ความรู้บนพื้นฐานของ ABT: Model (Ariyasacca Based Training)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนก จันทร์ขจร. (2561). การอบรมความรู้และจริยธรรมเพื่อชีวิตตอนที่ 2, คุณธรรมความสามัคคีตามแนวพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.(ออนไลน์). เรียกใช้เมื่อ 13 สิงหาคม 2561 จาก https://www.m-culture.go.th/ young_th/article_view.php?nid=111

กาญจนา ดงสงครามและคณะ. (2561). “การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับการฝึกอบรมออนไลน์ของศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิยาลัยมหาสารคาม”. มหาสารคาม.

คุณลักษณะครูรุ่นใหม่ควรมีลักษณะอย่างไร. (2561). (ออนไลน์). เรียกใช้เมื่อ 6 สิงหาคม 2561 จาก https://educ105.wordpress.com

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2554). การศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน : การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : เอ็น.วาย. ฟิล์ม จำกัด.

จินดารัตน์ ปีมณี. (2545). การพัฒนาฉันทะในการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จินดาลักษณ์ วัฒนสินธ์. (2553). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ทีพีเอ็น เพรส.

ชาญชัย สวัสดิ์สาลี. (2556). คู่มือนักฝึกอบรมมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สวัสดิการสำนักงาน ก.พ.

เตือนใจ ศรีชะฏาและคณะ. (2561). “การฝึกอบรมบุคลากรในธุรกิจบริการ เพื่อคุณภาพบริการที่ดีขึ้น”. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 13 มกราคม – เมษายน, 263.

ธัญญภัสร์ ศิรธัชนราโรจน์. (2559). จิตวิทยากับการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประไพ ประดิษฐ์สุขถาวร. (2561). คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ. เรียกใช้เมื่อ 13 สิงหาคม 2561 จาก https://taamkru.com/th/คุณธรรมพื้นฐาน/#article102

พระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่. (2561). ตัวแบบวิธีวิทยาว่าด้วยพุทธบูรณาการและสหพุทธวิทยาการ. เรียกใช้เมื่อ 18 พฤษภาคม 2561 จาก https://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=1733&articlegroup_id=278

พระมหาบุญมี มาลาวชิโร. (2553). พุทธบริหาร. กรุงเทพมหานคร: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.

พระราชรัตนมงคล. (2554). การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมวิธีสอนศีลธรรมระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของพระสอนศีลธรรมตามโครงการของกระทรวงศึกษาธิการ. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภาสกร เรืองรองและคณะ. (2559). การฝึกอบรมเรื่องการสร้างแบบประเมินออนไลน์โดยใช้ Google site ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม , 92.

มารศรี กลางประพันธ์. (2548). การพัฒนาคุณธรรมด้านอดทน (ขันติ) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ. (2551). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.

เรือโท อากาศ อาจสนาม. (2557). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลเชิงพุทธบูรณาการของพยาบาลสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2553). ครูเพื่อศิษย์ เติมหัวใจให้การศึกษา. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

ศันสนีย์ ชุมพลบัญชร. (2558). การศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของบุคคล องค์กร และชุมชนใน การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงพุทธบูรณาการ. วรสารวิจัย รมยสาร, ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม , 208.

ศิริชัย กาญจนวาสี และคณะ. (2561). การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง (ออนไลน์). เรียกใช้เมื่อ 14 สิงหาคม 2561 จาก https://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re6.htm

สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ และคณะ. (2561). การประยุกต์ใช้ความรู้จากการฝึกอบรมและสมรรถนะในการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์. วารสาร Veridian E-Journal, ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะมหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน , 2328.

สุขอรุณ วงษ์ทิม. (2560). รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างค่านิยมในองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารพยาบาลตำรวจ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน, 2560.

สุพัตรา ทาวงศ์. (2561). ความคิดสร้างสรรค์ (ออนไลน์). เรียกใช้เมื่อ 13 สิงหาคม 2561 จาก https://www.baanjomyut.com/library/creative_thinking/index.html.