โรงเรียนผู้สูงอายุ: การจัดการระบบสุขภาวะและสวัสดิการผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุในภาคใต้

Main Article Content

พระครูวิรัติธรรมโชติ .
สมบูรณ์ บุญฤทธิ์
พีระพล สงสาป

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินการของโรงเรียนผู้สูงอายุในภาคใต้ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการสุขภาวะและสวัสดิการผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุในภาคใต้ 3) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างเครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุในการจัดการสุขภาวะและสวัสดิการของผู้สูงอายุในภาคใต้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ในเชิงปริมาณ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของผู้สูงอายุในโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2 โรงเรียน ส่วนในเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ ในการ เก็บรวบรวมข้อมูลด้านการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ และการประชุมกลุ่มย่อย (Focus group)


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. กระบวนการดำเนินการของโรงเรียนผู้สูงอายุในภาคใต้ โรงเรียนผู้สูงอายุในภาคใต้ มีลักษณะการจัดตั้งและการดำเนินการที่เหมือนกัน และแตกต่างกัน ในด้านการดูแลรับผิดขอบ มีการดูแลรับผิดชอบโดยองค์กร/ชุมชนในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ส่วนกระบวนการได้มาของผู้เรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ จะมีการรับสมัครผู้เข้าเรียนตามระยะเวลา และเรียน ตามหลักสูตรที่กำหนด ในด้านหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอน มีลักษณะการจัดหลักสูตรที่คล้ายกัน คือ ให้ความรู้ทั่วไปที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุ และความรู้ด้านโภชนาการ สำหรับผู้สูงอายุ

  2. แนวทางการจัดการสุขภาวะและสวัสดิการของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุในภาคใต้ พบแนวทาง การจัดการสุขภาวะผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุด้านกาย โดยให้มีจิตอาสาในชุมชนดูแลผู้สูงอายุ ด้านจิต ให้ความสำคัญต่อผู้สูงอายุในการให้ผู้สูงอายุได้แสดงออกถึงศักยภาพที่มีอยู่ ด้านปัญญา อารมณ์ ให้ผู้สูงอายุ ได้เรียนรู้ถึงการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างรู้เท่าทัน และการทำกิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับ ความต้องการของผู้สูงอายุ ส่วนในด้านสังคม/สิ่งแวดล้อม ให้ผู้สูงอายุได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ชีวิตที่มี ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม และใช้ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเป็นฐานในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและ สิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่น่าอาศัย ส่วนแนวทางในการพัฒนาการจัดระบบสวัสดิการผู้สูงอายุในโรงเรียน พบแนวทางในการพัฒนา ด้านร่างกายโดยจัดกิจกรรมด้านอาหารและโภชนาการ การดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุอย่างบูรณาการกับ สวัสดิการด้านอื่น ๆ ด้านจิตใจ เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุเข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชนในการให้

  3. การเสริมสร้างบทบาทของเครือข่ายในการจัดการสุขภาวะสวัสดิการผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุใน ภาคใต้ พบว่า ควรมีการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุในแต่ละชุมชนเป็นโรงเรียนผู้สูงอายุระดับตำบล เพราะสามารถพัฒนาผู้สูงอายุได้อย่างเป็นระบบ ส่วนการแสวงหาเครือข่ายร่วมดำเนินงานนั้น สามารถใช้ องค์กรของรัฐและเอกชนในท้องถิ่นมาร่วมเป็นเครือข่ายดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุตามบทบาทหน้าที่ของ องค์กรเหล่านั้น ทั้งนี้ในการดำเนินการของโรงเรียนผู้สูงอายุและเครือข่ายต้องเป็นไปในลักษณะการบูรณา การให้สอดคล้องร่วมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มอนามัยผู้สูงอายุ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). รายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.

ขยัน วิพรหมชัย. (ม.ป.ป.). โรงเรียนผู้สูงอายุ ชีวิต ใหม่ของคนในชนบท. เรียกใช้เมื่อ 18 เมษายน 2560 จาก https://www.thaihealth.or.th/

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2556). ประชากรของประเทศไทย. บทความวิชาการ, 3 (16).

มัทยา ศรีพนา. (2557). การจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2557). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2556. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับยิ่ง จํากัด มหาชน.

ราชกิจจานุเบกษา. (22 ธันวาคม 2546). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. เรียกใช้เมื่อ 5 มิถุนายน 2558 จาก ราชกิจจานุเบกษา: https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00135212.PDF

วันชัย นารีรักษ์. (ม.ป.ป.). โรงเรียนผู้สูงอายุชีวิตใหม่ของคนในชนบท. เรียกใช้เมื่อ 18 เมษายน 2560 จาก https://www.thaihealth.or.th/

วิศาล วิมลศิลป์. (ม.ป.ป.). โรงเรียนผู้สูงอายุชีวิตใหม่ของคนในชนบท. เรียกใช้เมื่อ 18 เมษายน 2560 จาก https://www.thaihealth.or.th/

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (ม.ป.ป.). โลกของผู้สูงอายุไทย. เรียกใช้เมื่อ 5 มิถุนายน 2558 จาก https:// thaihealth.or.th/ node/9024,

สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ. (2556). คู่มือการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.