รูปแบบการบริหารธุรกิจของห้างสรรพสินค้าตามหลักธรรม ทางพระพุทธศาสนา

Main Article Content

อนงค์ภัทร์ ทรัพย์กนกมาศ
พระโสภณพัฒนบัณฑิต .
พระครูสุธีคัมภีรญาณ .

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการบริหารธุรกิจและสภาพการบริหารธุรกิจของห้างสรรพสินค้าในสังคมไทยปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาการบริหารธุรกิจตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา 3) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการบริหารธุรกิจของห้างสรรพสินค้าตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. แนวคิดการบริหารธุรกิจ ประกอบด้วยหลักการให้บริการของห้างสรรพสินค้า การให้บริการลูกค้า กระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการห้างสรรพสินค้า เกณฑ์การพิจารณาคุณภาพการใช้บริการ โมเดลคุณภาพของการบริการ และสภาพการการบริหารธุรกิจของห้างสรรพสินค้าในสังคมไทยปัจจุบัน จำแนกเป็นลักษณะธุรกิจ นโยบายและการดำเนินธุรกิจ ทิศทางการประกอบการธุรกิจ ของห้างสรรพสินค้าทั้งสามแห่งในจังหวัดขอนแก่น คือ บิ๊กซี  แฟรี่พลาซ่า และ โรบินสัน

  2. การบริหารธุรกิจตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของห้างสรรพสินค้าในจังหวัดขอนแก่น ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 คือ ธัมมัญญุตา เป็นผู้รู้จักเหตุ อัตถัญญุตา เป็นผู้รู้จักผล อัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักตน มัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักประมาณ กาลัญญุตา เป็นผู้รู้จักกาล  ปริสัญญุตา เป็นผู้รู้จักบริษัท ปุคคลัญญุตา เป็นผู้รู้จักบุคคล นำมาประยุกต์ใช้ในการครองตน ส่วนการครองคนใช้หลักสังคหวัตถุ 4 และการครองงานใช้หลักอิทธิบาท 4

  3. การสังเคราะห์รูปแบบการบริหารธุรกิจของห้างสรรพสินค้าตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา 3 ประการ คือ 1) ลักษณะของธุรกิจ สังเคราะห์เข้ากับหลักอิทธิบาท 4 ในการครองงาน 2) นโยบายและการดำเนินธุรกิจสังเคราะห์เข้ากับหลักสังคหวัตถุ 4 ในการครองคน และ 3) ทิศทางประกอบธุรกิจ สังเคราะห์เข้ากับหลักสัปปุริสธรรม 7 ในการครองตน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). การพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระธานี เขมธมฺโม (จำปา). (2550). ศึกษาสัมมาอาชีวะในพระพุทธศาสนา. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิมพ์สวย จากัด.

พระมหาสมโภช ฐิติญาโณ (ศรีพันธ์). (2535). ศึกษาวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ตามแนวพระไตรปิฎก. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รังสี สุทนต์. (2543). เศรษฐีแท้ฟังธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

วิชชารียา เรืองโพธิ์. (2553). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์การค้าสยามพารากอน. ใน สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2560). แนวทางการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2560 จาก https://www.ocsc.go.th/11_Jan_2013/1%20Thesis_2553_ 11_Jan_2013

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). ธุรกิจทั่วไป: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทดวงกมลสมัย จำกัด.

อภิชัย พันธเสน. (2547). พุทธเศรษฐศาสตร์ วิวัฒนาการ ทฤษฎีและการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่าง ๆ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์.