แนวทางการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อสันติสุขในสังคมไทย BUDDHIST WAY OF COMMUNICATION FOR PEACE IN THAI SOCIETY

Main Article Content

พระครูศรีปรีชากร (เลื่อน บุญยงค์)

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อสันติสุข      2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการสื่อสารในสังคมไทย 3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการสื่อสารเชิงพุทธสันติสุขในสังคมไทย เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยศึกษาค้นคว้าคัมภีร์พระไตรปิฎก (ฉบับภาษาไทย) ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ศึกษาถึงแนวคิด หลักการ แนวคิด ประโยชน์และคุณค่าเกี่ยวกับแนวทางการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อสันติสุขในสังคมไทย ตามแนวทางพระพุทธศาสนา คือ วาจาสุภาษิต หรือ สัมมาวาจา รวมถึงเอกสาร ตำรา วิชาการ วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง ศึกษาแนวคิด ประโยชน์ คุณค่าเกี่ยวกับบริบทสื่อออนไลน์ สื่ออินเทอร์เน็ต และการสัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง จำนวน 25 รูป/คน หลังจากนั้นจะได้นำผลการศึกษาแนวทางการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อสันติสุขในสังคมไทยตามแนวทางพระพุทธศาสนา


          ผลการวิจัยพบว่า


          แนวทางการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อสันติสุข เป็นแนวทางการสื่อสารด้วยหลักสัมมาวาจาซึ่งเป็นทางสายกลางในมรรคมีองค์ 8 คือ วจีสุจริต 4 อย่าง 1) เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ     2) เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด 3) เจตนางดเว้นจากการพูดหยาบ 4) เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ และหลักวาจาสุภาษิต คือ 1) พูดถูกกาล 2) พูดคำจริง 3) พูดคำอ่อนหวาน     4) พูดคำมีประโยชน์ และ 5) พูดด้วยเมตตาธรรมไม่มีอคติ ในขณะเดียวกัน พระพุทธเจ้าในฐานะผู้สื่อสารถือได้ว่าเป็นสุดยอดอัจฉริยะบุคคลที่รู้จักกาลเทศะ บุคคล และกลุ่มบุคคล อย่างแท้จริง ผู้รับสารที่มีสติปัญญาจึงศรัทธารับฟังจนบรรลุเป้าหมายที่เป็นสันติสุขในชีวิต การศึกษาสภาพปัญหาการสื่อสารในสังคมไทย พบว่า มีการสื่อสารที่ประกอบด้วย 4 ลักษณะ คือ   1) สื่อสารด้วยวาจาเท็จ 2) สื่อสารด้วยวาจาส่อเสียด 3) สื่อสารด้วยวาจาหยาบ 4) สื่อสารด้วยวาจาเพ้อเจ้อ ทางสื่อออนไลน์อันเป็นสาเหตุให้เกิดคำว่า “Hate speech” ก็คือวจีทุจริต 4 ซึ่งเป็นการพูดหรือการเขียนที่สร้างความเกลียดชังต่อกัน เป็นบ่อเกิดแห่งสงครามที่หักล้างผลประโยชน์กันทางสังคมการเมือง และการดำเนินชีวิตปกติของคนในสังคมไทยและสังคมโลกในขณะนี้ แนวทางการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อสันติสุขในสังคมไทยตามแนวทางพระพุทธศาสนา ควรนำหลักวจีสุจริต 4 ประการ ร่วมกับสารณียธรรม 6 ประการ คือ ธรรม 6 ประการนี้ มีคุณ ทำให้เป็นที่ระลึก ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี และเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และจะเกิดความสันติสุขในสังคมได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ กันภัย. (2557). นิเทศศาสตร์ในพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ทัศนีย์ เจนวิถีสุข. (2553). การสื่อสารที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมที่ปรากฏในพระไตรปิฎก. ใน สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคนที่ 1. (18 พฤษภาคม 2561). แนวทางการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อสันติสุขในสังคมไทย. (พระครูศรีปรีชากร (เลื่อน บุญยงค์), ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคนที่ 2. (30 พฤศจิกายน 2561). แนวทางการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อสันติสุขในสังคมไทย. (พระครูศรีปรีชากร (เลื่อน บุญยงค์), ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคนที่ 3. (21 กันยายน 2561). แนวทางการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อสันติสุขในสังคมไทย. (พระครูศรีปรีชากร (เลื่อน บุญยงค์), ผู้สัมภาษณ์)

พระมหาศรีสุพรณ์ อตฺตทีโป (คำนนท์). (2549). การประยุกต์ใช้วาจาสุภาษิตที่ปรากฏในคัมภีร์ขุททกนิกาย. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรรมนิเทศ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภัทรกานต์ ภัทรธำรง. (2559). การเปิดรับและความคิดเห็นต่อเนื้อหาประทุษวาจา (Hate Speech) ของผู้รับสารสื่อออนไลน์: กรณีศึกษาเฟซบุ๊กแฟนเพจ “หยุดดัดจริตประเทศไทย”. ใน วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รักษ์ ปริกทอง. (2562). เหตุแห่งความวุ่นวายในสังคมไทย. เรียกใช้เมื่อ 22 เมษายน 2562 จาก https:ps//www. ggtoknow.orgts/posts350228

Oxford Advanced Learner’s Dictionary. (2547). การอธิบายความหมายของความขัดแย้งในลักษณะนี้ ยึดถือตามแนวการอธิบายใน Oxford University Press และในศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาล ศัพท์บัญญัติเกี่ยวกับความขัดแย้งและการแก้ปัญหา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.