รูปแบบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวเชิงพุทธบูรณาการ

Main Article Content

อรอุมา อสัมภินวัฒน์
พระราชปริยัติกวี (สมจินต์ วันจันทร์)
แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสถานภาพและความเป็นอยู่ของแม่เลี้ยงเดี่ยวในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมสำหรับการดำเนินชีวิตของผู้เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว  และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวเชิงพุทธบูรณาการ การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีดำเนินการวิจัยทั้งในรูปของเอกสาร (Documentary Research) และภาคสนาม (Field Work) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กลุ่มแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ผ่านประสบการณ์การใช้ชีวิตในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวและมีประสบการณ์การเลี้ยงดูลูกไม่ต่ำกว่า 5 ปี จากหลากหลายอาชีพ จำนวน 20 คน รวมทั้งการสนทนากลุ่มจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Focus Group Discussion) ซึ่งการนำเสนองานวิจัย เป็นลักษณะการพรรณนาเล่าเรื่อง เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงของข้อมูลแต่ละส่วนของสอดคล้องตามแต่ละวัตถุประสงค์


 


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. สถานภาพและความเป็นอยู่ของแม่เลี้ยงเดี่ยวในสังคมไทย พบว่าครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยสัดส่วนของแม่เลี้ยงเดี่ยวยังคงอยู่ในสัดส่วนที่ 80% สาเหตุมี 4 ประการดังนี้ 1) การหย่าร้าง 2) คู่สมรสเสียชีวิต 3) แยกทาง และ 4) ละทิ้ง โดยการหย่าร้างเป็นสาเหตุหลัก ส่วนสภาพปัญหาหรือผลกระทบของการแม่เลี้ยงเดี่ยวมาจาก 1) ปัญหาภาระในการหาเลี้ยงครอบครัวและความเป็นอยู่ 2) ปัญหาจากความโศกเศร้าและเสียใจ 3) ปัญหาจากถูกสังคมตั้งคำถาม และ 4) ปัญหาจากการเลี้ยงดูลูก จากผลการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยว สามารถสรุปกรอบการศึกษาแนวทางการดำเนินชีวิตที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน 3 ด้าน คือ การดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจ การเลี้ยงดูลูก และการดำเนินชีวิตทางสังคม

  2. หลักพุทธธรรมสำหรับการดำเนินชีวิตของผู้เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ประกอบด้วย 1) หลักธรรมเพื่อการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจ (ช่วงเผชิญปัญหา) ได้แก่ หลักปรโตโฆสะ หลักสติสัมปชัญญะ หลักขันติ หลักศรัทธา และหลักโยนิโสมนสิการ 2) หลักธรรมเพื่อการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจ (ช่วงพัฒนาตนเอง) ได้แก่ หลักหลักไตรสิกขา และ หลักสัปปายะ 3) หลักธรรมเพื่อการเลี้ยงดูลูก ได้แก่ หลักกัลยาณมิตรธรรม หลักพรหมวิหาร และหลักทิศ 6 และ 4) หลักธรรมเพื่อการดำเนินชีวิตทางสังคม ได้แก่ หลักสังคหวัตถุ รวมถึงหลักธรรมที่สะท้อนให้เห็นผลลัพธ์ในปัจจุบัน คือ หลักทิฏฐธัมมิกัตถะ

  3. รูปแบบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวเชิงพุทธบูรณาการ พบว่า 1) แนวทางการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยว มีแนวทางในการดำเนินชีวิตคือ (ระยะเผชิญปัญหา) (1) การดำเนินชีวิตในช่วงแรก จำเป็นต้องมีกัลยาณมิตร (2) ยอมรับความจริงและการปรับตัว (3) มีความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเอง (4) การไตร่ตรองปัญหา และวางแผนชีวิตใหม่ให้ชัดเจน (ระยะพัฒนาตนเอง) แม่เลี้ยงเดี่ยวมีการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาปรับใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต คือ การรักษาศีล 5 ไหว้พระสวดมนต์ นั่งสมาธิ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เรื่องแนวทางการเลี้ยงดูลูก คือ ใช้หลักการเป็นกัลยาณมิตรของลูก แนวทางการใช้ชีวิตในสังคม สามารถพัฒนาตนเองเป็นจิตอาสา 2) แนวทางการบูรณาการหลักพุทธธรรมกับการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยว ประกอบด้วย แนวทางตามลำดับ 7 ขั้น ลำดับที่ 1 การใช้ตัวช่วยสำหรับชี้แนะแนวทาง ด้วยหลักปรโตโฆสะ  ลำดับที่ 2 และ 3 การยอมรับและปรับตัว ด้วยหลักสติสัมปชัญญะ  ลำดับที่ 4 ความเชื่อมั่นว่าทำได้ ด้วยหลักศรัทธา ลำดับที่ 5 การวิเคราะห์และวางแผนชีวิต ด้วยหลักโยนิโสมนสิการ  ลำดับที่ 6 การพัฒนาคุณภาพชีวิต 3 ด้าน ได้แก่ 1.การพัฒนาสุขภาพร่างกายและจิตใจ ด้วยหลักไตรสิกขาและหลัก สัปปายะ  2. การเลี้ยงดูลูก ด้วยหลักกัลยาณมิตรธรรม พรหมวิหาร และทิศ 6   3. การดำเนินชีวิตทางสังคม ด้วยหลักสังคหวัตถุ และ ลำดับที่ 7 ผลลัพธ์ที่พึงเห็นได้ในปัจจุบัน ด้วยหลักทิฏฐธัมมิกัตถะ 3) องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย เรียกว่า THE SEVEN “A” MODEL ประกอบด้วย A-ASSIST, A–ACCEPT, A-ADAPT, A-AFFORD, A-ANALYZE, A-APPLY และ A-ACHIEVE โดยโมเดลนี้ สามารถนำไปปรับใช้เป็นกรอบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวได้ในสังคมปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (6 กันยายน 2560). เข้าถึงได้จาก ระบบสถิติทางการทะเบียน :https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/home.php

กองส่งเสริมสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (8 กันยายน 2560). สถานการณ์ครอบครัวเข้มแข็ง. เข้าถึงได้จาก https://stat.thaifamily.in.th/StartpageFamily01.aspx

ชาย โพธิสิตา. (2537). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 6). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย (พิมพ์ครั้งที่ 40). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ ในเครือ บริษัทสำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม จำกัด.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รายงานสถานการณ์ประชากรไทย พ.ศ. 2558. (2558). โฉมหน้าครอบครัวไทย ยุคเกิดน้อย อายุยืน. กรุงเทพมหานคร: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานสถิติแห่งชาติร่วมกับองค์การยูนิเซฟ (ประเทศไทย). (2560). รายงานการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรี ประจำปี 2558-2559. กรุงเทพมหานคร.

สำนักนโยบายและแผน. (2560). นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.

Herbert Goldenberg & Irene Goldenberg. (2008). Family Therapy An Overview. United States of America: McGraw-Hill.

คุณเอ นามสมมติ. (25 มีนาคม 2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวเชิงพุทธบูรณาการ. (อรอุมา อสัมภินวัฒน์, ผู้สัมภาษณ์)

คุณบี นามสมมติ. (26 มีนาคม 2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวเชิงพุทธบูรณาการ. (อรอุมา อสัมภินวัฒน์, ผู้สัมภาษณ์)

คุณซี นามสมมติ. (27 มีนาคม 2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวเชิงพุทธบูรณาการ. (อรอุมา อสัมภินวัฒน์, ผู้สัมภาษณ์)

คุณดี นามสมมติ. (31 มีนาคม 2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวเชิงพุทธบูรณาการ. (อรอุมา อสัมภินวัฒน์, ผู้สัมภาษณ์)

คุณอี นามสมมติ. (3 เมษายน 2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวเชิงพุทธบูรณาการ. (อรอุมา อสัมภินวัฒน์, ผู้สัมภาษณ์)

คุณเอฟ นามสมมติ. (3 เมษายน 2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวเชิงพุทธบูรณาการ. (อรอุมา อสัมภินวัฒน์, ผู้สัมภาษณ์)

คุณจี นามสมมติ. (3 เมษายน 2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวเชิงพุทธบูรณาการ . (อรอุมา อสัมภินวัฒน์, ผู้สัมภาษณ์)

คุณเฮช นามสมมติ. (3 เมษายน 2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวเชิงพุทธ บูรณาการ . (อรอุมา อสัมภินวัฒน์, ผู้สัมภาษณ์)

คุณไอ นามสมมติ. (21 เมษายน 2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวเชิงพุทธบูรณาการ . (อรอุมา อสัมภินวัฒน์, ผู้สัมภาษณ์)

คุณเจ นามสมมติ. (27 เมษายน 2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวเชิงพุทธบูรณาการ . (อรอุมา อสัมภินวัฒน์, ผู้สัมภาษณ์)

คุณเค นามสมมติ. (28 เมษายน 2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวเชิงพุทธบูรณาการ . (อรอุมา อสัมภินวัฒน์, ผู้สัมภาษณ์)

คุณแอล นามสมมติ. (28 เมษายน 2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวเชิงพุทธบูรณาการ. (อรอุมา อสัมภินวัฒน์, ผู้สัมภาษณ์)

คุณเอ็ม นามสมมติ. (30 เมษายน 2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวเชิงพุทธบูรณาการ . (อรอุมา อสัมภินวัฒน์, ผู้สัมภาษณ์)

คุณเอ็น นามสมมติ. (1 พฤษภาคม 2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวเชิงพุทธบูรณาการ . (อรอุมา อสัมภินวัฒน์, ผู้สัมภาษณ์)

คุณโอ นามสมมติ. (2 พฤษภาคม 2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวเชิงพุทธบูรณาการ. (อรอุมา อสัมภินวัฒน์, ผู้สัมภาษณ์)

คุณพี นามสมมติ. (2 พฤษภาคม 2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวเชิงพุทธบูรณาการ. (อรอุมา อสัมภินวัฒน์, ผู้สัมภาษณ์)

คุณคิว นามสมมติ. (3 พฤษภาคม 2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวเชิงพุทธบูรณาการ. (อรอุมา อสัมภินวัฒน์, ผู้สัมภาษณ์)

คุณอาร์ นามสมมติ. (5 พฤษภาคม 2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวเชิงพุทธบูรณาการ. (อรอุมา อสัมภินวัฒน์, ผู้สัมภาษณ์)

คุณเอส นามสมมติ. (5 พฤษภาคม 2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวเชิงพุทธบูรณาการ. (อรอุมา อสัมภินวัฒน์, ผู้สัมภาษณ์)

คุณที นามสมมติ. (6 พฤษภาคม 2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวเชิงพุทธบูรณาการ. (อรอุมา อสัมภินวัฒน์, ผู้สัมภาษณ์)