แนวทางการพัฒนาองค์กรชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อม รองรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษา : ผู้นำชุมชน และชมรมการท่องเที่ยว อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

พงศ์ประสิทธิ์ อ่อนจันทร์
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
เดโช แขน้ำแก้ว
บุญยิ่ง ประทุม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมรองรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาองค์กรชุมชนรองรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษา : ผู้นำชุมชน และชมรมการท่องเที่ยว อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช มีประชากร ได้แก่ ผู้นำชุมชน และชมรมการท่องเที่ยว จำนวน 160 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำชุมชน จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


 


          ผลการศึกษาพบว่า


          1) การเตรียมความพร้อมรองรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษา : ชมรมการท่องเที่ยว อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราชอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการศึกษาพบว่า อยู่ในระดับมาก  และ 2) แนวทางการพัฒนาองค์กรชุมชนรองรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษา : ชมรมการท่องเที่ยว อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราชผลการศึกษาพบว่า แนวทางที่กลุ่มตัวอย่างเสนอ มีอาทิเช่น ควรมีการแนะนำการท่องเที่ยว และมีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีคนในชุมชนดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวนั้นได้ พร้อมทั้งมีอาสาสมัครในชุมชนมาประสานงานการท่องเที่ยวให้มีความเชื่อมโยงกันพร้อมที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยว

Article Details

How to Cite
อ่อนจันทร์ พ., ดำรงวัฒนะ จ., แขน้ำแก้ว เ., & ประทุม บ. (2018). แนวทางการพัฒนาองค์กรชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อม รองรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษา : ผู้นำชุมชน และชมรมการท่องเที่ยว อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(1), 79–90. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/153401
บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มเยาวชน CBT สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2561). เรียกใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2561 จาก รู้จักการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT): https://cbtyouth.wordpress.com/cbt-youth/cbt/

โชคชัย สุเวชวัฒนกูล. (2560). การจัดการวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยคุณค่าเพื่อการพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืนในอุตสาหกรรมบริการ และการท่องเที่ยว. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ 13(2), 63-80.

ส่งศรี ชมภูวงศ์. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2560). เรียกใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2561 จาก "การท่องเที่ยวโดยชุมชน" คือ?: http://hsmi2.psu.ac.th/paper/840

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2560). เรียกใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2561 จาก การท่องเที่ยวชุมชนวิถีคนขอนคลาน: http://codi.or.th/index.php/public-relations/news/15332-2017-02-24-08-33-05

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพิปูน. (2560). รายชื่อการติดต่อผู้ผลิต และผู้ประกอบการ. นครศรีธรรมราช: สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพิปูน.

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพิปูน. (2560). รายชื่อการติดต่อผู้ผลิต และผู้ประกอบการ. นครศรีธรรมราช : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพิปูน.

สุดถนอม ตันเจริญ. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนบางขันแตก จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ13(2), 1-24.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2561). เรียกใช้เมื่อ 31 พฤษภาคม 2561 จาก การท่องเที่ยวโดยชุมชน (COMMUNITY - BASED TOURISM): http://www.dasta.or.th/th/component/k2/item/674-674