ภูมิปัญญาการแปรรูปปลาท้องถิ่นเพื่อการดำรงอยู่ตามวิถีป่าพรุ กรณีศึกษา : กลุ่มผลิตภัณฑ์ตลาดปลา ตำบลบ้านตูล อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการแปรรูปปลาท้องถิ่นเพื่อการดำรงอยู่ตามวิถีป่าพรุ กรณีศึกษา : กลุ่มผลิตภัณฑ์ตลาดปลา ตำบลบ้านตูล อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
- ภูมิปัญญาการแปรรูปปลาท้องถิ่นเพื่อการดำรงอยู่ตามวิถีป่าพรุ กรณีศึกษา : กลุ่มผลิตภัณฑ์ตลาดปลา ตำบลบ้านตูล อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า 1. ทางกลุ่มมีกระบวนการเลือกปลา ท้องถิ่นที่ใช้ในการแปรรูป คือ ปลาดุก และปลาช่อน ต้องเลือกให้ได้ขนาดละ 1 กิโลกรัมจะจำหน่ายในราคา 200 บาท และถ้าปลาตัวขนาด 5-7 กรัม จะจำหน่ายในราคากิโลละ 100 บาท 2. ชุมชนจัดตั้งกลุ่มตลาดปลาขึ้น นอกเหนือจากการตลาด เพื่อการจำหน่ายสินค้าแล้วยังให้สมาชิกกลุ่มออมเงินจนเกิดกองทุน ชุมชนที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 3. กลุ่มผลิตภัณฑ์ตลาดปลามีระเบียบร่วมกันในการห้ามจับปลาในช่วงฤดูวางไข่ เพื่อให้มีปลากินตลอดปี
- การดำรงอยู่ตามวิถีป่าพรุ กรณีศึกษา : กลุ่มผลิตภัณฑ์ตลาดปลา ตำบลบ้านตูล อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า 1. การตั้งถิ่นฐานและชุมชน เหมาะแก่การตั้งกลุ่มผลิตภัณฑ์ตลาดปลา ผู้บริโภคมีความสะดวกในการซื้อสินค้า 2. พื้นฐานทางเศรษฐกิจ และทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐกิจของตลาดปลาส่วนใหญ่มีรายได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเทศกาล 3. สภาพของพื้นที่ และทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชน อย่างไรก็ตาม แนวโน้มวิถีชุมชนของกลุ่มผลิตภัณฑ์ตลาดปลาอาจจะเปลี่ยนไปจากวิถีเดิม โดยจะมีรูปแบบการเลี้ยงปลาทดแทน เพื่อสนองผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ตลาดปลา
Article Details
How to Cite
พลแก้ว เ., เดโชชัย อ., ดำรงวัฒนะ จ., & แขน้ำแก้ว เ. (2017). ภูมิปัญญาการแปรรูปปลาท้องถิ่นเพื่อการดำรงอยู่ตามวิถีป่าพรุ กรณีศึกษา : กลุ่มผลิตภัณฑ์ตลาดปลา ตำบลบ้านตูล อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 4(2), 94–103. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/152996
บท
บทความวิจัย
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2539). ความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่น. เรียกใช้เมื่อ 2559 มีนาคม 20 จาก http://www.ipesp.ac.th