หลักธรรมที่ปรากฏในความเชื่อและพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ สำนักเขาอ้อ จังหวัดพัทลุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง หลักธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมทางไสยศาสตร์สำนักเขาอ้อ จังหวัดพัทลุง มีประวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาคติความเชื่อและพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ของสำนักเขาอ้อ 2. เพื่อศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ของสำนักเขาอ้อ จังหวัดพัทลุงและ 3. เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในคติความเชื่อและพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ของสำนักเขาอ้อจังหวัดพัทลุง สำหรับผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลภาคสนามโดยวิธีการสัมภาษณ์ การสังเกต แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนา สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้
ผลการวิจัยพบว่า
- คติความเชื่อและขั้นตอนพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ของสำนักเขาอ้อ ประกอบด้วย คติความเชื่อและขั้นตอนพิธีกรรมรับศิษย์ คติความเชื่อและขั้นตอนพิธีกรรมทำน้ำพระพุทธมนต์ คติความเชื่อและขั้นตอนพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ คติความเชื่อและขั้นตอนพิธีกรรมกินว่านยา คติความเชื่อและขั้นตอนพิธีกรรมแช่ว่านยา คติความเชื่อและพิธีกรรมกินข้าวเหนียวดำ คติความเชื่อและขั้นตอนพิธีกรรมกินน้ำมันงาดิบ คติความเชื่อและขั้นตอนพิธีกรรมสร้างพระเครื่องและเครื่องรางของขลัง คติความเชื่อและขั้นตอนพิธีกรรมการคลี่คลายเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งเห็นได้ชันเจนในกลุ่มผู้ประกอบพิธีหรือผู้ถือปฏิบัติซึ่งเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก กลุ่มชาวบ้านในท้องถิ่นจะมีความเชื่อมากน้อยขึ้นอยู่กับวัตรปฏิบัติของพระอาจารย์และกลุ่มชาวบ้านต่างถิ่นจะมีความเชื่อมั่นมากขึ้น
- ส่วนผลกระทบจากคติความเชื่อและพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ของสำนักเขาอ้อ มีทั้งผลกระทบด้านดีและด้านไม่ดี ผลกระทบด้านดี ได้แก่ การอนุรักษ์และส่งเสริมความเชื่อและพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ การส่งเสริมจริยธรรม การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา การส่งเสริมการศึกษา การส่งเสริมบำรุงขวัญกำลังใจ การสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อพระสงฆ์ และการส่งเสริมอาชีพ ส่วนผลกระทบด้านไม่ดี ได้แก่ ด้านโจรผู้ร้าย และธุรกิจการค้า เป็นต้น
- ซึ่งในด้านคติความเชื่อในพิธีกรรมต่าง ๆ ล้วนแฝงไปด้วยหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาที่โบราณาจารย์ได้สอดแทรกเอาไว้เป็นกุศโลบายให้ลูกศิษย์และผู้มีความศรัทธาได้รู้จักคิดและนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตในประจำวัน
Article Details
How to Cite
ตรีทรัพย์ เ., โสภณกิตยาทร พ., & พิจิตรศุภการ พ. (2015). หลักธรรมที่ปรากฏในความเชื่อและพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ สำนักเขาอ้อ จังหวัดพัทลุง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 2(1), 42–48. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/152976
บท
บทความวิจัย
References
ขุนพันธรักษ์ราชเดช, พล.ต.ต. (2519). ความเชื่อทางไสยศาสตร์ของชาวปักษ์ใต้ ในชีวิตไทยปักษ์ใต้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์.
เทพย์ สาริกบุตร. (ม.ป.ป.). วิชาอาถรรพ์. กรุงเทพมหานคร: อุตสาหกรรมการพิมพ์.
พ.ควนขนุน. (2523). พระเครื่องมือสยาม “ว่าด้วยวิชาไสยศาสตร์”.
ลายทอง คงคาพยนต์. (2528). พระอาจารย์ฤทธิ์ศิษย์เขาอ้อ “สายสิญจน์”.
สรเชต สรคามวิชัย. (2529). ศิลปวัฒนธรรม “ลัทธิตระและพิธีเบิกพรหมจารีของขอม”.
เสถียร โพธินันทะ. (2535). ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาไชยมุขปาฐะ ภาค 1. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
เทพย์ สาริกบุตร. (ม.ป.ป.). วิชาอาถรรพ์. กรุงเทพมหานคร: อุตสาหกรรมการพิมพ์.
พ.ควนขนุน. (2523). พระเครื่องมือสยาม “ว่าด้วยวิชาไสยศาสตร์”.
ลายทอง คงคาพยนต์. (2528). พระอาจารย์ฤทธิ์ศิษย์เขาอ้อ “สายสิญจน์”.
สรเชต สรคามวิชัย. (2529). ศิลปวัฒนธรรม “ลัทธิตระและพิธีเบิกพรหมจารีของขอม”.
เสถียร โพธินันทะ. (2535). ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาไชยมุขปาฐะ ภาค 1. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.