เต่าสิริมงคล : แนวทางส่งเสริมภูมิปัญญาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เต่าสิริมงคลกรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านตุ๊กตา หมู่ที่ 7 ตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการแปรรูปผลิตภัณฑ์เต่าสิริมงคล และเพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมภูมิปัญญาการแปรรูปผลิตภัณฑ์เต่าสิริมงคล กรณีศึกษา : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านตุ๊กตา หมู่ที่ 7 ตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
- ภูมิปัญญาการแปรรูปผลิตภัณฑ์เต่าสิริมงคล โดยรวมทุกด้านพบว่า 1) ทางกลุ่มใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพระดับ A2 2) เน้นการเลือกใช้วัตถุดิบ และอุปกรณ์ที่มีอยู่ในชุมชน 3) มีการคิดค้น และพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ อยู่เสมอ พร้อมใช้ตัวแทนจำหน่ายเพื่อยกระดับกระบวนการผลิต และจัดจำหน่าย
- ด้านแนวทางการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์เต่าสิริมงคล โดยรวมทุกด้าน พบว่า 1) การอนุรักษ์ภูมิปัญญาการแปรรูปผลิตภัณฑ์เต่าสิริมงคล ส่วนใหญ่มีการประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัย เพื่อคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์แบบดั้งเดิม 2) การพัฒนากลุ่มฝีมือ และส่วนใหญ่จะใช้ช่างหล่อที่มีความรู้ความชำนาญ 3) การถ่ายทอดองค์ความรู้ ยังคงยึดถือการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นอยู่ และมีการเสริมสร้างองค์ความรู้ โดยการยกระดับแปรรูปผลิตภัณฑ์เต่าสิริมงคลเพื่อเป็นต้นแบบของการศึกษาให้กับนักศึกษา และประชาชนโดยทั่วไป
สรุปได้ว่า การแปรรูปผลิตภัณฑ์เต่าสิริมงคล สามารถเป็นต้นแบบการส่งเสริมอาชีพให้กับคนในชุมชนท้องถิ่น จนสามารถพัฒนาไปสู่การสร้างกระบวนการเรียนรู้ และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างสมบูรณ์
Article Details
How to Cite
ภูมิสุวรรณ ร., เดโชชัย อ., ดำรงวัฒนะ จ., & แขน้ำแก้ว เ. (2015). เต่าสิริมงคล : แนวทางส่งเสริมภูมิปัญญาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เต่าสิริมงคลกรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านตุ๊กตา หมู่ที่ 7 ตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 2(1), 24–32. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/152966
บท
บทความวิจัย
References
นงลักษณ์ กาลติ. (2550). การส่งเสริมความรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
บัญญัติ สิทธิไกรพงษ์. (2559). การร่วมกลุ่ม. เรียกใช้เมื่อ 10 พฤษภาคม 2559 จาก http//www.webhost.com
ศิริพร หนูเกื้อ. (21 มกราคม 2559). (ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านตุ๊กตา หมู่ที่ 7 บ้านลำคลอง ตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช). (สัมภาษณ์ 21 มกราคม 2559).
สันติสุข กฤดากร. (2558). ภูมิปัญญาชาวบ้าน. เรียกใช้เมื่อ 3 มีนาคม 2559 จาก สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี: https://www.ipesp.ac.th
บัญญัติ สิทธิไกรพงษ์. (2559). การร่วมกลุ่ม. เรียกใช้เมื่อ 10 พฤษภาคม 2559 จาก http//www.webhost.com
ศิริพร หนูเกื้อ. (21 มกราคม 2559). (ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านตุ๊กตา หมู่ที่ 7 บ้านลำคลอง ตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช). (สัมภาษณ์ 21 มกราคม 2559).
สันติสุข กฤดากร. (2558). ภูมิปัญญาชาวบ้าน. เรียกใช้เมื่อ 3 มีนาคม 2559 จาก สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี: https://www.ipesp.ac.th