ศึกษาทัศนะเรื่องความสามัคคีในคัมภีร์พระพทุธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์เรื่อง ศึกษาทัศนะเรื่องความสามัคคีในคัมภีร์พระพุทธศาสนามีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาทัศนะเรื่องความสามัคคี 2. เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมเกี่ยวกับความสามัคคีที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และ 3. เพื่อประยุกต์ทัศนะความสามัคคีกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งของคนไทยในปัจจุบันการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบศึกษาเชิงวิเคราะห์ศึกษาข้อมูลจากแหล่งทั้งสองข้างต้นต่าง ๆ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ แล้วนำเสนอในรูปการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ประกอบกับทัศนะแนวความคิดเห็นของผู้วิจัย
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. ทัศนะเรื่องความสามัคคีจากผลการวิจัย พบว่า ในพระวินัยปิฎกได้กล่าวอ้างถึง สังฆราชี สังฆเภท และสังฆสามัคคี สังฆราชี คือ ความร้าวฉานของหมู่คณะหรือสงฆ์ที่มีการแตกแยกเกิดขึ้นทำโดยพระภิกษุสงฆ์เท่านั้นคนอื่นทำไม่ได้ในพระสุตตันตปิฎกได้ให้ความหมายของคำว่าสามัคคีซึ่งปรากฏในจูฬโคสิงคสาลสูตรว่าด้วยเหตุแห่งความสามัคคีหมายเอาการตั้งกายกรรมวจีกรรมและมโนกรรมที่ประกอบด้วยเมตตาในมิตรสหายและคนทั้งหลาย โดยไม่ถือว่าตนเป็นใหญ่กว่าคนอื่นให้เกียรติให้ความสำคัญต่อผู้อื่น จึงจะถือว่าได้บำเพ็ญสามัคคีธรรมตามทัศนะของพระพุทธศาสนาเถรวาทอย่างสมบูรณ์และในพระอภิธรรมปิฎกได้กล่าวถึงความสามัคคีในลักษณะของการถาม-ตอบเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของอันตรายที่เกิดจากไฟทั้ง 3 อย่าง คือ ไฟราคะ ความอยาก ไฟโทสะ ความพยาบาทอาฆาต ไฟโมหะ ความหลงงมงาย ซึ่งกิเลสของทั้งสามนี้เป็นสาเหตุให้เกิดความแตกแยกของความสามัคคีในหมู่ชน
- 2. หลักพุทธธรรมเกี่ยวกับความสามัคคีที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาจากการศึกษาพบว่าหลักธรรมที่ก่อให้เกิดความสามัคคีประกอบด้วยสังคหวัตถุ4 สาราณียธรรม 6 และอปริหานิยธรรมทั้ง 7 เป็นเครื่องบ่งบอกได้ว่าเมื่อคณะสงฆ์และฆราวาส ได้พากันประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมดังกล่าวแล้ว จะส่งผลให้เกิดความสามัคคีอย่างแน่นอน ความเสื่อมความวุ่นวายต่างๆในพระพุทธศาสนาก็จะไม่เกิดขึ้น
3. การประยุกต์ทัศนะความสามัคคีกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งของคนไทยในปัจจุบันจากการศึกษาสรุปโดยภาพรวมพบว่า สังคมไทยต้องการความเป็นหนึ่งเดียวของผู้คนในสังคมทุกคนจึงต้องช่วยกันเสริมสร้างความสามัคคีด้วยการรวมพลังปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ดีงามถูกต้องตามหลักการข้อบังคับกติกาและศีลธรรมซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนสังคมไทยให้เดินหน้าไปสู่สังคมแห่งความสามัคคีธรรมอย่างสมบูรณ์
Article Details
References
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย . กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.