การจัดการรูปแบบการบริหารแผนพัฒนาของมูลนิธิในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารในการจัดการมูลนิธิในประเทศไทยเพื่อกำหนดเป็นรูปแบบการจัดทำแผนพัฒนา 2) เพื่อศึกษาการจัดการของมูลนิธิในประเทศไทยเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และรูปแบบการจัดทำแผนพัฒนาในการบริหาร 3) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดทำแผนพัฒนาที่เหมาะสมของมูลนิธิในประเทศไทยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย คือ คณะกรรมการบริหารมูลนิธิหลวงตาน้อย อาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยใต้หน่วย วิษณุ 39 - 00 คณะกรรมการบริหารมูลนิธิภาวนาพุทธโท บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐ บุคลากรจากหน่วยงานเอกชน บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานของมูลนิธิ และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดกับหัวข้อการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 20 รูป/คน เพื่อให้ทราบนัยและกระบวนการหรือกลไกเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ในการพัฒนาของมูลนิธิในประเทศไทย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive random) เนื่องจากผู้วิจัยมีข้อจำกัดในเรื่องของระยะเวลาการวิจัย จึงใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant Interview) คือ การสัมภาษณ์โดยกำหนดตัวผู้ตอบเป็นการเฉพาะเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันในการบริหารจัดการของของมูลนิธิในประเทศไทย โดยภาพรวม ปัญหาการบริหารจัดการของของมูลนิธิในประเทศไทย และความต้องการในการบริหารจัดการ พบว่า 1) ต้องการให้มีการปรับปรุงระบบโครงสร้างของการบริหารงานรวมทั้งกฎระเบียบ ต่าง ๆ ของให้มีความยืดหยุ่น ไม่ซํ้าซ้อน มีความเป็นสากล 2) ต้องการให้มีการปรับ ทัศนคติและวิธีการทำงานของบุคลากรให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างรวดเร็ว 3) ต้องการให้มีการกระจายงบประมาณสอดคล้องกับความต้องการโดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงบประมาณเป็นหลัก ในส่วนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการของมูลนิธิในประเทศไทย จำแนกเป็น 5 ยุทธศาสตร์ 5 เป้าประสงค์ และ 23 กลยุทธ์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2547). การจดทะเบียนสมาคม มูลนิธิ. เรียกใช้เมื่อ 7 สิงหาคม 2565 จาก https://multi.dopa.go.th/omd2/assets/modules/work_manual/uploads/083d599fc180f772771ba7d6f7591f4257a983ad2d3b5676960105972798271.pdf
กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์. (2553). พฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
กรัณย์พล วิวรรธมงคล. (2560). การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 1(2), 1-13.
โกวิทย์ พวงงาม. (2562). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. นนทบุรี: ธรรมสาร.
ทิชากร เกษรับว และฌานนท์ ปิ่นเสม. (2561). ลยุทธ์การพัฒนาผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) กลุ่มเบญจบูรพาสู่การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา (ด่านอรัญประเทศ) ด้วยการวิเคราะห์ SWOT. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี, 13(2), 51-66.
ปรณต สุวรรณมาลา. (2562). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมดูแลการจัดการมูลนิธิ. เทศาภิบาล, 114(1), 46.
พิสมัย เหล่าไทย. (2560). ตัวแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษในประเทศไทย. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยสยาม.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). การบริหารการศึกษา : หลักการทฤษฎี หน้าที่ ประเด็น และบทวิเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ทิพย์วิสุจน์.
สมบัติ นามบุรี. (2562). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิจยวิชาการ, 2(1), 183-197.