การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจด้วยชุดการสอนทฤษฎีดนตรีสากลตามแนวคิดการสอนแบบโคดายของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 2 วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับ ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 วิทยาลัยนาฎศิลปจันทบุรี รายวิชาทฤษฎีโน้ตร้องโน้ต โดยใช้ชุดการสอน เรื่อง ทฤษฎีโน้ตดนตรีสากล ที่สร้างขึ้นตามแนวคิดการสอนแบบโคดาย 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยชุดการสอนทฤษฎีโน้ตดนตรีสากล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนที่ลงเรียนรายวิชาทฤษฎีโน้ตร้องโน้ต จำนวน 60 คน ระยะเวลาการวิจัยภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม จำนวน 10 คาบ คาบละ 50 นาที และได้วัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนทุกคาบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดการสอนทฤษฎีโน้ตดนตรีสากล, แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน - หลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ ผลจากการวิจัย พบว่า ผลคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน คือ 9.65 และ คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน คือ 21.18 ซึ่งเมื่อนำคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนมาทำการวิเคราะห์ พบว่า ค่า t มีค่าเท่ากับ 34.79 แสดงให้เห็นว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอนที่ถูกพัฒนาขึ้น พบว่า ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.41) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวัดผล ให้ผลความพึงพอใจสูงสุด คือ ( = 4.63) ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นด้านที่มีระดับความพึงพอใจต่ำสุด คือ ( = 4.11) อยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เหนือดวง พูลเพิ่ม. (2560). การจัดการเรียนรู้วิชาดนตรี ตามแนวคิดของซูซูกิร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะการขับร้องและความสามารถในการทำงานเป็นทีมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี
ที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
กองส่งเสริมวิชาการและงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม. (2562). หลักสูตรดุริยางคศิลป์ ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562. (พิมครั้งที่ 2). นครปฐม: บริษัท ไทภูมิ พับลิชชิ่ง จำกัด.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2523). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาการสอน. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2528). เอกสารชุดการสอนวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารทางการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประพันศักดิ์ พุ่มอินทร์. (2554). ทฤษฎีการสอนดนตรี. เรียกใช้เมื่อ 22 เมษายน 2565 จาก https://suppavit 014.wordpress.com.
มูอาซ อับดุลเลาะแม. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการเรียนรู้ร่วมกันด้วยชุดการสอนด้วยความเป็นจริงเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอาหรับของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. ใน
วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิรุฬ พรรณเทวี. (2542). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของหน่วยงานกระทรวงมหาดไทยในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สิชณน์เศก ย่านเดิม. (2558). แนวคิดทฤษฎีการสอนดนตรี. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(2), 27-28.
อนุวัติ คูณแก้ว. (2562). การวัดและประเมินผลการศึกษาแนวใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.