การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาปฐมวัย โรงเรียนเอกชน จังหวัดนครราชสีมา เครือข่ายที่ 3

Main Article Content

สุนันทา ซาอุรัมย์
โสภณ เพ็ชรพวง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัย 2) ศึกษาการจัดการศึกษาปฐมวัย 3) ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองส่งผลต่อการจัดการศึกษาปฐมวัย ของโรงเรียนเอกชน จังหวัดนครราชสีมา เครือข่ายที่ 3 เป็นวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร ได้แก ผู้ปกครองนักเรียนระดับปฐมวัย จำนวน 2,687 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 338 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในหารวิจัย ได้แก ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ ได้แก การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ มีส่วนร่วมในการดำเนินการ มีส่วนร่วมการวางแผน มีส่วนร่วมในการประเมินผลการดำเนินงาน มีส่วนร่วมตัดสินใจ และ มีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ 2) การจัดการศึกษาปฐมวัย โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับครอบครัวของเด็ก การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก การบูรณาการการเรียนรู้ การสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก 3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาปฐมวัย ของโรงเรียนเอกชน จังหวัดนครราชสีมา เครือข่ายที่ 3 พบว่า ด้านมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ และ ด้านมีส่วนร่วมตัดสินใจส่งผลต่อการจัดการศึกษาปฐมวัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถร่วมกันพยากรณ์การจัดการศึกษาปฐมวัย ของโรงเรียนเอกชน จังหวัดนครราชสีมา เครือข่ายที่ 3 ได้ร้อยละ 28.50

Article Details

How to Cite
ซาอุรัมย์ ส. ., & เพ็ชรพวง โ. . (2023). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาปฐมวัย โรงเรียนเอกชน จังหวัดนครราชสีมา เครือข่ายที่ 3. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(7), 189–199. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/270741
บท
บทความวิจัย

References

เกษมศักดิ์ โทแสง. (2562). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนพอกพิทยารัชมังคลาภิเษก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 จังหวัดศรีสะเกษ. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: วี.พรินท์.

ธรรมรัตน์ พงษ์ทอง. (2559). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนในเขตอำเภอแก่งหางแมว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. ใน งานวิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

มัชชิมา ใหม่ขลิบ. (2563). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลไทรม้า จังหวัดนนทบุรี. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

สายพิณ ทับล้อม. (2559). การศึกษาสาเหตุในการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพ ประชากรของผู้ใหญ่ในด้านกิจกรรมอนามัยแม่และเด็กและ การวางแผนครอบครัว. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประชากรศึกษา. มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.2564-2570. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา. (2565). ข้อมูลทั่วไป. เรียกใช้เมื่อ 25 พฤศจิกายน 2565 จาก http://nmapeo.go.th/info.php?id=601

อมรรัตน์ บุญเสนอ. (2562). การพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

อิสรานุช กิจสมใจ. (2563). ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชน ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

Krejcie, R.V.& Morgan, D.W. (1970). Educational and Psychological Measurement. Washington, DC: The Mid Atlantic Equity Center.