ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายในน้ำต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

Main Article Content

ยุพิน หมื่นทิพย์
มนันชญา จิตตรัตน์
วิลาสินี แผ้วชนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งเชิงทดลองชนิดหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช ก่อนและหลังเข้าโปรแกรมการออกกำลังกายในน้ำ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*Power โดยเลือกสถิติ t-test dependent สำหรับการทดสอบสมมติฐานหางเดียว (One trail) ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้าคัดออกแล้วเหลือจำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลคือแบบบันทึกการประเมินสมรรถภาพทางกายผู้สูงอายุและแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบ Paired t test และ Wilcoxon sign rank test ในตัวแปรที่มีการแจกแจงข้อมูลไม่ปกติ


          ผลการศึกษาพบว่า


          หลังเข้าโปรแกรมออกกำลังกายในน้ำ กลุ่มตัวอย่างมีสมรรถภาพระบบหายใจและหลอดเลือด สมรรถภาพของกล้ามเนื้อ ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อ การทรงตัวและความว่องไว ดีกว่าก่อนการเข้าโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) นั่นหมายถึงว่าสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุหลังเข้าโปรแกรมออกกำลังในน้ำดีกว่าก่อนเข้าโปรแกรมฯ

Article Details

How to Cite
หมื่นทิพย์ ย., จิตตรัตน์ ม., & แผ้วชนะ ว. (2019). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายในน้ำต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(8), 3887–3900. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/201929
บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2555). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

จันทร์ดา บุญประเสริฐ และคณะ. (2559). ผลของการออกกำลังกายแบบหะฐะโยคะต่อสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ Effect of Hatha Yoga Exercise on Physical Fitness Among Older Persons. วารสารพยาบาลสาร (Nursing Journal), 43(ฉบับพิเศษ), 35-47.

เด่นหล้า ปาลเดชพงศ์ และ นิพนธ์ พวงวรินทร์. (2552). การออกกำลังกายในน้ำทางเลือกใหม่เพื่อสุขภาพ. วารสารเวชบันทึกศิริราช, 2(2), 92-95.

ทิติภา ศรีสมัย และคณะ. (2560). ผลของการออกกำลังกายด้วยรำมวยโบราณ ประยุกต์ ต่อสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุชาวไทย: การศึกษานำร่อง. Chula Med J, 61(6), 745-755.

ทิวา มหาพรหม และคณะ. (2560). ผลของการออกกำลังกายด้วยไทชิต่อท่าทาง และการทรงตัวของผู้สูงอายุ. วารสารสภาการพยาบาล, 32(3), 50-65.

ปิยาภา แก้วอุทาน. (2554). การออกกำลังกายในน้ำเพื่อเพิ่มการทรงตัวในผู้สูงอายุ: ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. เรียกใช้เมื่อ 7 กันยายน 2561 จาก https://drive.google.com/file/d/1xKPQ_41qsfYOrXQAQwif_H2savzgeBTr/view

พิมผกา ปัญโญใหญ่. (2555). การออกกำลังกายแบบแอโรบิคสำหรับผู้สูงอายุ Aerobic Exercise Among the Elderly. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ (Journal of Nursing Science & Health), 35(2), 140-148.

ภาควิชาพละและกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2558). การประเมินสมรรถภาพการทำหน้าที่ทางกายสำหรับผู้สูงอายุ Senior fitness test. เรียกใช้เมื่อ 7 กันยายน 2561 จาก http://www.pe.edu.kps.ku.ac.th/pes2016/images/stories/pes2016/download/achara/201-28.pdf

สุพิตร สมาหิโต. (2556). คู่มือแบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย สำหรับผู้สูงอายุ อายุ 60- 89 ปี. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา.

สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ และคณะ. (2556). ผลของการรำไทยบนตารางเก้าช่องต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารสภาการพยาบาล, 28(4), 28-80.

Abadi F.H., et al. (2017). Effects of Aqua-Aerobic Exercise on the Cardiovascular Fitness and Weight Loss among Obese Students. Int J Physiother, 4(5), 278-283.

Kim,S.B & O'sullivan ,D.M. (2013). ffects of Aqua Aerobic Therapy Exercise for Older Adults on Muscular Strength, Agility and Balance to Prevent Falling during Gait. J Phys Ther Sci, 25(8): 923–927.

Lord SR, Mitchell D, Williams P. (1993). Effect of water exercise on balance and related factors in older people. Australian Journal of Physiotherapy, 39(3), 217-22.