การนำหลักไตรสิกขาไปใช้ในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง “การนำหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) ไปใช้ในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาการนำหลักไตรสิกขาไปใช้ในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 2. เพื่อเปรียบเทียบการนำหลักไตรสิกขาไปใช้ในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่มีอายุ ระดับการศึกษาและตำแหน่งการปฏิบัติงาน ต่างกัน และ 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการนำหลักไตรสิกขาไปใช้ในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 763 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของ Krejcie และ Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 257 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัย เพื่อหาค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t - test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
- การนำหลักไตรสิกขา ( ศีล สมาธิ ปัญญา ) ไปใช้ในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัด สงขลา พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (
= 4.15, S.D. = 0.36 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า การนำหลักไตรสิกขาไปใช้ในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพด้านศีลสิกขามีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ด้านจิตตสิกขาและด้านปัญญาสิกขามีค่าเฉลี่ยต่ำสุดเมื่อจำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่งปฏิบัติงาน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน
- ผลการเปรียบเทียบการนำหลักไตรสิกขาไปใช้ในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่า พยาบาลวิชาชีพที่มีอายุระดับการศึกษา ต่างกัน มีการนำหลักไตรสิกขาไปใช้ในการปฏิบัติงานโดยรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (F = 1.602) ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนพยาบาลวิชาชีพที่มีตำแหน่งปฏิบัติงานต่างกัน มีการนำหลักไตรสิกขาไปใช้ในการปฏิบัติงานโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t = 2.829) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
- แนวทางการส่งเสริมการนำหลักไตรสิกขาไปใช้ในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ด้านศีลสิกขา ควรส่งเสริมการศึกษาหรือสิกขาให้เกิดพัฒนาด้านพฤติกรรมทางกาย และวาจาให้มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างถูกวิธี ถูกต้องเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เราเกี่ยวข้องได้แก่มนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้านจิตตสิกขา ควรส่งเสริมพัฒนาจิต ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจิตเป็นฐานของพฤติกรรม การมีจิตที่พัฒนาที่ดีงามแล้วก็สามารถควบคุมพฤติกรรมไปใช้ในทางที่ดีงาม ความสงบแน่วแน่ของจิตจึงจะคิดอะไรได้ชัดเจนมองเห็นได้ทั่วตลอด ซึ่งเป็นฐานให้เป็นปัญญาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ด้านปัญญาสิกขา ควรส่งเสริมพัฒนาด้านปัญญา ซึ่งมีความสำคัญสูงสุด เพราะเป็นตัวนำทางและควบคุมพฤติกรรมทั้งหมดให้การดำเนินชีวิตมีประสิทธิภาพประสบความสำเร็จทั้งศิลปะวิทยาการต่างๆเข้าสู่ระบบความสัมพันธ์ของสิ่งทั้งหลายให้การดำเนินชีวิตหรือวิถีชีวิตที่ถูกต้องงดงามซึ่งมนุษย์ต้องเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตน คือ สิกขามรรคกับสิกขาจึงประสานเป็นอันเดียวกัน อาศัยสืบเนื่องส่งผลต่อกันตามเหตุปัจจัยให้บรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดหลุดพ้นเป็นอิสระโดยสมบูรณ์
Article Details
References
พระครูวิสุทธิ์ธีรคุณ (ธีระ จิตฺตวิสุทฺธิ). (2554). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนวิถีพุทธ ในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). .พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). ไตรสิกขาคือระบบการศึกษา พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). หัวใจพระพุทธศาสนา. ปีที่ 61. ฉบับที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พุทธจักร.
เยาวนาถ สุวลักษณ์. (2551). การจัดการความเครียดที่สอดคล้องกับหลักไตรสิกขาทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนวัยรุ่นระดับมัธยมศึกษาในเขตเทศบาลนครสงขลา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ส่งศรี ชมพูวงศ์. (2554). .ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. นครศรีธรรมราช: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สำราญ บุญปราบ. (2554). การนำหลักไตรสิกขาไปใช้ในชีวิตประจำวันของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เอกชัย กะษาวงศ์. (2539). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานกับการปฏิบัติตนตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดนครพนม. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.