การศึกษาภูมิปัญญาการแกะรูปหนังตะลุง กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชนแกะรูปหนังตะลุง ชุมชนบ้านสวนจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ทัตพงศ์ เที่ยวแสวง
อุดมศักดิ์ เดโชชัย
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
เดโช แขน้ำแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการแกะรูปหนังตะลุง และแนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาการแกะรูปหนังตะลุง กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชนแกะรูปหนังตะลุง ชุมชนบ้านสวนจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ


 


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. ภูมิปัญญาการแกะรูปหนังตะลุงโดยรวมพบว่า รูปแบบของการแกะรูปผลิตภัณฑ์หนังตะลุงเป็นวัตถุดิบที่ได้มาจากหนังวัวเป็นหลัก ขั้นตอนการแกะรูปหนังตะลุงจะอาศัยช่างผู้มีความชำนาญในการแกะ และมีความเข้าใจในตัวละครของหนังตะลุงความหลากหลายของผลิตภัณฑ์หนังตะลุงจะผลิตขึ้นตามความต้องการของตลาด และล้อไปตามวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น

  2. แนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาการแกะรูปหนังตะลุง พบว่า มีการพัฒนาสร้างสรรค์ภูมิปัญญาการแกะรูปหนังตะลุงให้เหมาะกับยุคกับสมัยและเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิต โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นพื้นฐาน สำหรับด้านการตลาดนั้นทางกลุ่มมักจะมีการออกงานสินค้า และผลิตภัณฑ์ และเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ทางกลุ่มมุ่งเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับคนรุ่นหลังเพื่อมิให้สูญหายและจะเน้นรูปแบบผลิตภัณฑ์สีสันลวดลายให้มีความหลากหลายเพื่อที่สนใจของลูกค้ามากยิ่งขึ้น การถ่ายทอดองค์ความรู้ ยังคงยึดหลักการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นอยู่และมีการเสริมสร้างองค์ความรู้ โดยการใช้วิธีการเปิดสอนหลักสูตรให้กับผู้ที่สนใจที่จะเรียนการแกะหนังตะลุง

สรุปได้ว่า การแกะรูปหนังตะลุงได้มีการพัฒนาประเภทผลิตภัณฑ์ให้หลากหลาย และยังเผยแพร่การถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่สนใจในงานด้านนี้ไม่ว่าจะเป็นเด็กเยาวชนนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป

Article Details

How to Cite
เที่ยวแสวง ท., เดโชชัย อ., ดำรงวัฒนะ จ., & แขน้ำแก้ว เ. (2017). การศึกษาภูมิปัญญาการแกะรูปหนังตะลุง กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชนแกะรูปหนังตะลุง ชุมชนบ้านสวนจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 4(1), 90–99. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/153205
บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2534). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมและการ พัฒนาชนบทคร. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติงกรุ๊ป.

สุพัตรา คงขำ และนริทร์ สังข์รักษา. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาพื้นหนังตะลุงเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมท้องถิ่น. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2558).