ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นและการฟื้นพลังทางจิตใจ

Main Article Content

ณัฐกา สงวนวงษ์
สุกัญญา บุญศรี
สายพิน สีหรักษ์
ทัศนีย์ สมเสียง
อภิชาติ มุกดาม่วง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกล่าวถึงภาวะซึมเศร้าซึ่งเป็นภาวะทางจิตใจที่พบมากในปัจจุบัน โดยเน้นภาวะซึมเศร้าในกลุ่มวัยรุ่นตอนปลาย ซึ่งเป็นช่วงที่เผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสัมพันธภาพกับสังคม อาการของภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นโดยทั่วไปไม่ต่างจากช่วงวัยอื่น แต่มีความเฉพาะของวัยรุ่นที่เป็นไปตามพัฒนาการช่วงวัย เช่น การแสดงอารมณ์ที่หงุดหงิดง่ายมากกว่าแสดงออกถึงความเศร้าตลอดเวลา ปัจจัยสาเหตุของภาวะซึมเศร้ามีทั้งปัจจัยด้านชีวภาพ ที่เกี่ยวกับพันธุกรรม สารเคมีในสมอง และปัจจัยทางจิตสังคม ซึ่งมีความหลากหลายสูง อาทิ ความคิดด้านลบ ความคิดแบบคนสมบูรณ์แบบ การอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว ความสัมพันธ์ เหตุการณ์เชิงลบในชีวิต แนวทางการบำบัดภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น ประกอบด้วยการใช้ยาและการใช้จิตบำบัด โดยเฉพาะการปรับความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy) ซึ่งพบว่า มีประสิทธิภาพสูงในการจัดการภาวะนี้ นอกจากนี้ การป้องกันภาวะซึมเศร้ายังเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความผูกพันในครอบครัว การสนับสนุนทางสังคม โดยเฉพาะการฟื้นพลังทางจิตใจ ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการปรับตัว ฟื้นตัว และจัดการกับความท้าทายอย่างยืดหยุ่น มีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ สิ่งที่ตนเป็น, สิ่งที่ตนมี, และสิ่งที่ตนทำได้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการป้องกันภาวะซึมเศร้าและส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี บทความนี้ตอกย้ำความสำคัญของการสร้างความเข้าใจต่อภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น โดยเฉพาะในกลุ่มครู ผู้ปกครอง ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับวัยรุ่น และชวนให้ตระหนักถึงบทบาทของการพัฒนาความสามารถในการฟื้นพลังทางจิตใจ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการป้องกันและฟื้นฟูสภาพจิตใจในวัยรุ่นที่เผชิญกับปัญหาดังกล่าว

Article Details

How to Cite
สงวนวงษ์ ณ. ., บุญศรี ส. ., สีหรักษ์ ส. ., สมเสียง ท. ., & มุกดาม่วง อ. . (2025). ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นและการฟื้นพลังทางจิตใจ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 12(1), 236–245. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/283810
บท
บทความวิชาการ

References

กองบรรณาธิการ TCIJ. (2566). กรมสุขภาพจิตเผย คนไทยเครียด มีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่ม-ซึมเศร้าเพิ่ม 1 - 2%. เรียกใช้เมื่อ 16 เมษายน 2566 จาก https://www.tcijthai.com/news/2023/28/current/12824

ดวงใจ วัฒนสินธุ์. (2559). การป้องกันภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น: จากหลักฐานเชิงประจักษ์สู่การปฏิบัติ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(1),1-12.

ดวงใจ วัฒนสินธุ์. (2564). ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น: แนวคิดพื้นฐานและการพยาบาล. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

ดาราวรรณ ต๊ะปินตา. (2563). ภาวะซึมเศร้า: การบำบัดและการให้การปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

ธีรภัทร์ ลักษณียนาวิน และเอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15(3), 59-73.

นันท์ชัตสัณห์ สกุลพงศ์. (2565). จิตวิทยาเชิงบวก: หลักการพื้นฐานและการประยุกต์. กรุงเทพมานคร: โรจนพรินท์ติ้ง.

นันทยา คงประพันธ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(11), 303-315.

ปริญญา ชะอินวงษ์ และคณะ. (2563). การถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์และความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเยาวชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 34(3), 133-151.

ปาริชาติ เมืองขวา และคณะ. (2563). ภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาไทย: บทบาทที่สำคัญสำหรับสถาบันการศึกษา. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 21(41), 104-116.

พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2564). จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2565). การให้การปรึกษาวัยรุ่น. (พิมพ์ครั้งที่ 5). ชลบุรี: บริษัท เก็ทกู๊ดครีเอชั่น.

ภคณัฐ รัตนบ้านกรวย. (2563). การศึกษาประสบการณ์ต่อการปรับตัวบนภาวะซึมเศร้าในช่วงวัยผู้ให้ตอนต้น. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศญาดา ด่านไทยวัฒนา. (2565). ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นกับบทบาทอาจารย์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา, 1(2), 54-64.

สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2566). รายงานสรุปผู้บริหาร: โครงการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

สุนันท์ เสียงเสนาะ และคณะ. (2560). อิทธิพลของปัจจัยด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ต่อภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นตอนปลาย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 33(3), 59-69.

อัญมณี มณีนิล และคณะ. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นตอนปลาย. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 38(1), 293-307.

Collishaw, S. et al. (2016). Mental health resilience in the adolescent offspring of parents with depression: a prospective longitudinal study. Journal The lancet Psychiatry, 3(1), 49-57.

Dardas, L. A. et al. (2023). Cognitive behavioral therapy and medication for treatment of adolescent depression: A network meta-analysis. Journal Behavioral and Cognitive Psychotherapy, 51(3), 230-245.

Haehner, P. et al. (2024). The relationship between the perception of major life events and depression: A systematic scoping review and meta-analysis. Journal of Affective Disorders, 349, 145-157.

Han, M. H. & Nestler, E. J. (2017). Neural substrates of depression and resilience. Journal Neurotherapeutics, 14(3), 677-686.

Hofgaard, L. S. et al. (2021). Introducing two types of psychological resilience with partly unique genetic and environmental. Journal Scientific Reports, 11(1), 86-97.

Liu, J. J. et al. (2023). Advancing the multi-system model of resilience: A network perspective. Journal Psychological Bulletin, 147(6), 543-568.

Ngoc, L. et al. (2020). Cyber-bullying among adolescents at school: A literature review. International Journal of Psychosocial Rehabilitation, 24(7), 9700-9712.