การศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย

Main Article Content

พรชิตา จันทะผล
วาโร เพ็งสวัสดิ์
ธราเทพ เตมีรักษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวิธีการดำเนินการ 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสังเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย โดยการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 แหล่ง 2) การประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้แก่ อาจารย์ระดับอุดมศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และครูปฐมวัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสาร และแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เครื่องมือวิจัยผ่านการพิจารณาตรวจสอบโดยที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์จำนวน 2 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 39 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การสร้างและพัฒนาหลักสูตร 6 ตัวบ่งชี้ 2) ความรู้ ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ 6 ตัวบ่งชี้ 3) การใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ในการจัดการเรียนรู้ 5 ตัวบ่งชี้ 4) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 6 ตัวบ่งชี้ 5) การบริหารจัดการชั้นเรียน 6 ตัวบ่งชี้ 6) การพัฒนาผู้เรียน 7 ตัวบ่งชี้ และ 7) การวัดและการประเมินผล 3 ตัวบ่งชี้ ผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนี้ 1) การสร้างและพัฒนาหลักสูตร 2) ความรู้ ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ 3) การใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ในการจัดการเรียนรู้ 4) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 5) การบริหารจัดการชั้นเรียน 6) การพัฒนาผู้เรียน และ 7) การวัดและการประเมินผล ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
จันทะผล พ. ., เพ็งสวัสดิ์ ว. ., & เตมีรักษ์ ธ. . (2024). การศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(12), 96–105. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/283692
บท
บทความวิจัย

References

กุลประภา วรพิทักษง. (2561). การพัฒนาครูปฐมวัยในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ. วารสารการศึกษาปฐมวัย, 6(2), 15-24.

จีรนะ ดวงภูเมห. (2566). แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบไฮสโคปในการพัฒนาทักษะเด็กปฐมวัย. วารสารการศึกษาไทย, 24(3), 121-134.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประเสริฐ สินธุวงษ์. (2562). การออกแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารการศึกษาปฐมวัย, 12(2), 98-113.

ปราณี ช่วยชู. (2565). ผลกระทบของสมรรถนะครูปฐมวัยต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก. วารสารการพัฒนาเด็กปฐมวัย, 12(4), 52-63.

พัชราภรณ์ มณีกร และจิตรา สันติภาพ. (2564). การส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยผ่านสื่อการสอนที่มีคุณภาพ. วารสารการศึกษาปฐมวัย, 20(3), 45-60.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานการศึกษาสภาวการณ์การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2567 จาก https://www.onec.go.th/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 - 2570. เรียกใช้เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2567 จาก https://ecd.onec.go.th/

สุมาลี สอนสมร. (2566). การพัฒนาสมรรถนะครูปฐมวัยในการจัดการเรียนรู้. วารสารการศึกษาระดับปฐมวัย, 15(2), 34-45.

Painta, R. C. (2552). Classroom assessment scoring system manual. Pre-K. Paul H: Brookes Publishing Company.