สมเด็จครู พลวัตแบบแผนครูช่างสยาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ หรือเหล่าบรรดาช่างทั้งหลายต่างถวาย พระสมัญญานามพระองค์ว่า สมเด็จครูผู้เป็นศิลปิน ที่สร้างสรรค์ผลงานภายใต้ปัจจัยทางสังคมในยุคสมัย
การเปลี่ยนผ่านของสยามสู่ระเบียบโลกอย่างใหม่ที่ยุโรปเป็นศูนย์กลางอำนาจการพัฒนาความคิดและการสร้างสรรค์งานศิลปะของสมเด็จครูเป็นแบบแผนรูปแบบใหม่กับวงการศิลปกรรมไทยด้วยลักษณะของจริตริเริ่มสู่การสร้างคุณค่าใหม่บนพื้นฐานของไทยประเพณีทำให้เกิดปรากฏการณ์ด้านความคิดเรื่องศิลปะเรื่องทักษะและความงามเปลี่ยนแปลงไปกลับกลายเป็นการแสดงออกทางศิลปะที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมและสังคมเป็นศิลปะที่เกิดการผสมผสานข้ามศาสตร์ข้ามทักษะเชิงช่างแสดงออกด้วยสื่อบูรณาการหรือเรียกว่าศิลปะสื่อผสมยุคแรกเริ่มของวงการศิลปะไทยเป็นพลวัตที่เกิดขึ้นทั้งโลกตะวันตกและตะวันออกแตกแขนงไปสู่ทุก ๆ ด้านของศิลปกรรมไทยโดยเฉพาะด้านงานประณีตศิลป์ผ่านผลงานทรงออกแบบตาลปัตร และพัดรองพระราชพิธีที่ทำให้เห็นถึงการออกแบบที่สื่อความหมายอุปมาอุปไมยการทดลองวัสดุ และการประกอบสร้างด้วยรูปแบบที่มีพัฒนาการ
ตามยุคสมัยและกลายเป็นอิทธิพลทางความคิดต่อศิลปินและช่างฝีมือในยุค ต่อมาที่ปฏิบัติตามแนวทางของสมเด็จครูจนถึงปัจจุบันด้วยการรักษารอยต่อของภูมิปัญญาจากอดีตสู่ปัจจุบัน และปรับเพื่ออนาคตด้วยการผสานศาสตร์ของวัฒนธรรมอันแตกต่างให้เป็นหนึ่งเดียว ทั้งสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ให้สมดุลแบบแผนครูช่างสยามอย่าง “สมเด็จครู” จึงเป็นพลวัตที่สอดคล้องไปกับประวัติศาสตร์ทำให้เห็นถึงปรากฏการณ์และลู่ทางของการก่อร่างสร้างศิลปะประจำชาติในปัจจุบันและอนาคตโดยแท้จริง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ไกรฤกษ์ นานา. (2555). เบื้องหลังสัญญาเบาริ่งและประวัติภาคพิสดารของ Sir John Bowring. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
ไกรฤกษ์ นานา. (2564). จากสนธิสัญญา “นานกิง” สู่ “เบาริ่ง” วิเทโศบายสมัย ร.4 สยามรู้ทันอังกฤษ. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2564 จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_41054
พระยาอนุมานราชธน. (2506). สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงบันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ ประทานพระยาอนุมานราชธน เล่ม 1. พระนครศรีอยุธยา: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
ม.จ.ดวงจิตร จิตรพงศ์. (2521). ชุมนุมบทละคอนและบทร้อง. กรุงเทพมหานคร: ศิวพร.
ม.ร.ว. โต จิตรพงศ์. (2493). พระประวัติและฝีพระหัตถ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์. กรุงเทพมหานคร: พระจันทร์.
ศิลปวัฒนธรรม. (2564). เราไม่ได้มาเรียนจะเป็นฝรั่ง… พระราชดำรัสในรัชกาลที่ 5 กับการ เป็นคนไทยรู้เสมอฝรั่ง. เรียกใช้เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_12765
สมเด็จครู. (2562ก). พัดพระมหาวชิราวุธ. เรียกใช้เมื่อ 27 มิถุนายน 2565 จาก https://shorturl.asia/9C8Ds
สมเด็จครู. (2562ข). พัดพระบรมศพ. เรียกใช้เมื่อ 27 มิถุนายน 2565 จาก https://shorturl.asia/0jPk2
สมเด็จครู. (2564). คนเขาถือ. เรียกใช้เมื่อ 6 ธันวาคม 2565 จาก https://shorturl.asia/GtSKE
สมเด็จครู. (2564). อภิรัฐฯ ในเหตุการณ์ ปฏิวัติสยาม. เรียกใช้เมื่อ 27 มิถุนายน 2565 จาก https://shorturl.asia /WdnZr
เสถียร ดวงจันทร์ทิพย์. (2552). เพลงดนตรี: จากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยายานริศฯ ถึง พระยาอนุมานราชธน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นครปฐม: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.