แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการครองเรือน ในครอบครัวไทยปัจจุบัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการครองเรือนในครอบครัวไทยปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการครองเรือนในครอบครัวไทยปัจจุบัน ดำเนินการศึกษาโดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เน้นการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Research) นำเสนอข้อมูลแบบเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพปัญหาของครอบครัวไทยในปัจจุบัน มีความซับซ้อนมากขึ้น มีผลกระทบโดยตรงกับการดำรงชีวิตของผู้ที่ครองเรือน สร้างความสูญเสียต่อครอบครัวไทย ทั้งที่เป็นปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และปัญหาการนอกใจนำไปสู่การหย่าร้าง ที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคม ที่มีความสำคัญต่อปัจเจกบุคคล และเป็นตัวแทนของสังคมทั้งหมด
- หลักพุทธธรรมที่ว่าด้วยความซื่อสัตย์ มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตในครอบครัวไทยปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง เพราะความซื่อสัตย์มีลักษณะอยู่ 3 อย่าง ได้แก่ 1) ลักษณะความซื่อสัตย์ต่อพฤติกรรมของบุคคลมี 3 ทาง คือ ความจริงใจ เรียกว่า จริงใจ พูดจริง พูดคำสัตย์ เรียกว่า จริงวาจา และการกระทำจริง เรียกว่า ทำจริง 2) ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง คือ ซื่อตรงต่อวาจา ตรงต่อเวลา ตรงต่อความตรงหรือความเที่ยงธรรม และ 3) ความซื่อสัตย์ต่อบุคคลอื่น คือ สามีภรรยา ไม่ประพฤตินอกใจ (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539)
- การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการครองเรือนในครอบครัวไทยปัจจุบัน โดยนำหลักความซื่อสัตย์มาเป็นแนวทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ทำให้ปัญหาในครอบครัวลดลงได้ ส่วนการนำหลักความซื่อสัตย์มาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการครองเรือนในครอบครัวไทย จะทำให้เป็นรากฐานสำคัญที่สืบสานความสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งหากมีความซื่อสัตย์และจริงใจ ความสัมพันธ์ต่อกันก็จะสามารถสานต่อสัมพันธ์กันในระยะยาวได้ต่อไป
Article Details
How to Cite
(อภิรมย์ พลชะนะ) พ. (2019). แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการครองเรือน ในครอบครัวไทยปัจจุบัน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(3), 1397–1414. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/187156
บท
บทความวิจัย
References
จรัญ พรหมอยู. (2526). ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียน สโตร์.
ณรงค์ เส็งประชา. (2541). มนุษย์กับสังคม พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
พรรณทิพย์ วรรณศิริบุศย์. (2540). จิตวิทยาครอบครัว. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้ง 9). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พัทยา สายหู. (2544). กลไกของสังคม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
ณรงค์ เส็งประชา. (2541). มนุษย์กับสังคม พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
พรรณทิพย์ วรรณศิริบุศย์. (2540). จิตวิทยาครอบครัว. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้ง 9). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พัทยา สายหู. (2544). กลไกของสังคม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.