ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมและราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

ศุกันยา ห้วยผัด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทที่
จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อม ด้านพนักงานของบริษัท ด้านกิจกรรมทางชุมชนและสังคม และด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประจำปี พ.ศ. 2558 จำนวน 385 บริษัท สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ เก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยกระดาษทำการที่พัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม และกรอบการรายงานสากลที่พัฒนาโดย Global Reporting Initiative ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คุณภาพการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมด้านกิจกรรมทางชุมชนและสังคมมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนตัวแปรอื่นซึ่งประกอบด้วยคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อม และคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมด้านพนักงานของบริษัทไม่มีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
Articles

References

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2556). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: บริษัทอมริมทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน).
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การวิเคราะห์สถิติเพื่อธุรกิจ: สถิติเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยา.
ขวัญนภา เศิกศิริ, สมใจ บุญหมื่นไวย และ ธนภณ วิมูลอาจ. (2561). อิทธิพลของอัตราส่วนทางการเงินต่อราคาตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมบริการ. วารสารชุมชนวิจัย. 12(2) (น.71-84).


ขวัญฤทัย บุญถึง และจินดา ขันทอง. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง. รายงานการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50 (สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ) (น. 319-327). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จรรยวรรณ จิตวรพันธ์. มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ มูลค่าตลาดเพิ่ม อัตราส่วนทางบัญชี และผลตอบแทนของหุ้นสามัญ: การศึกษาจากประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ฑริยา พงษ์พันธุ์. ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาลขององค์กรกับผลประกอบการทางการเงินของบริษัทหมวดธุรกิจพลังงานที่อยู่ในดัชนี SET 50.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).
นิ่มนวล เขียวรัตน์. (2539). ผลกระทบของประกาศกำไรสุทธิทางบัญชีต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กรณีความแตกต่างในความพร้อมของข้อมูล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
มูลนิธิสถาบันไทยพัฒน์. (2559). ซีเอสอาร์คืออะไร. รู้จักซีเอสอาร์. สืบค้น 25 กันยายน 2559, จากhttps://www.thaicsr.com/2006/03/blog-post_20.html
วรรณชา กาญจนมุสิก. (2554). การทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
วิเชษฐ์ โรจนสุกาญจน และ ศิลปะพร ศรีจั่นเพชร. (2548). การบัญชีเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม: มิติใหม่ในการกำกับดูแลกิจการ. การกำกับดูแลกิจการที่ดี: Corporate Governance. (น. 121). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. (2548). การสำรวจพฤติกรรม ทัศนคติของผู้บริโภคเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรการธุรกิจในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
สุมาลี หดคำ. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการเปิดเผยรายงานความยั่งยืนกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
อาณัติ ลีมัคเดช. (2556). การส่งสัญญาณด้วยรางวัลรับผิดชอบต่อสังคม: กรณีศึกษาของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ, 36(139), 27-42.
Anderson, D. R., Sweeney, D. J., & Williams, T. A. (2002). Statistics for Business and Economics (8th ed.,
pp. 634). R. R.Donnelley & Sons, United States of America.
Allen, G., & S. Kask. (1997). Socially Responsible Firms: Financial and Market Performance. Journal of Business and Economic Perspectives, 23(2), 86-96.
Balabanis, G., Phillips, C., & Lyall, J. (1998). Corporate Social Responsibility and Economic Performance in the Top British Companies: Are They Linked? European Business Review, 98, 25–44.
Caroline, F. (2012). Corporate Social Responsibility and Stock Prices: The Environmental Awareness of Shareholders. Retrieved December 11, 2016, from https://corporate-sustainability.org/wp-content/uploads/arcs-2012-Flammer.pdf
Chen, G., Firth, M., Gao, N., & Rui, M. (2006). Ownership Structure, Corporate Governance, and Fraud: Evidence from China. Journal of Corporate Finance, 12(3), 424 – 448.
Donaldson, T., & Preston, E. (1995). The Stakeholder Theory of the Corporation: Concepts, Evidence, and Implications. Academy of Management Review, 20(1), 65-91.
Francesca, D., & Maria, I. (2014). The Relationship between Corporate Social Responsibility and Stock Price: An Analysis of the Italian Listed Companies. Retrieved December 11, 2016, from https://www.researchgate.net/publication/228121159_The_Relation_between_Corporate_Social_Responsibility_and_Stock_Prices_An_Analysis_of_the_Italian_Listed_Companies.
Global Reporting Initiative. (2007). Sustainability Reporting Guidelines. Retrieved September 25, 2016, from https://www.globalreporting.org/
Gray, R., Owen, L., & Adams, C. (1996). Accounting and Accountability: Changes and Challenges in Corporate and Social Reporting. London: Prentice-Hall Europe.
Kotter, J., & Heskett, T. (1992). Corporate Culture and Performance. Social Responsibility Journal, 8(2), 186-198.
Lee S., & Lynn S. (1975). Social Accounting: Theory, Issues and Case. Journal of Social Policy, 6(3), 365-366.
Lehtonen, J. (2003). Legitimacy theory. Retrieved October 18, 2016, from https://www.jyu.fi/viest/verkkotuotanto/yviperust/termikirjasto/legitimacy_theory.html.
Meir, S. (2005). Socially Responsible Indexes: Composition, Performance and Tracking Errors. Journal of Portfolio Management, 23(3), 100-109.
Ming-Te, L. (2016). Corporate Social Responsibility and Stock Price Crash Risk: Evidence from an Asian Emerging Market. Managerial Finance, 42(10), 963-976.
Parsa, S., & Kouhy, R. (2001). Disclosure of Social Information by UK Companies. A Case of Legitimacy Theory. Retrieved January 8, 2017, from https://mubs.mdx.ac.uk/Research/Discussion_Paper/Accounting_and_Finance/dpapa&fno16.pdf
Kim, Y., Li, H., & Li, S. (2014). Corporate Social Responsibility and Stock Price Crash Risk. Journal of Banking and Finance, 43(6), 1-13.