ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของการท่องเที่ยวในชุมชน ตลาดร้อยปีสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

ศศิพิมพ์มาศ หงษ์สมบัติ
พิทยา บุญคงเสน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของนโยบายของรัฐ, ผู้นำที่เข้มแข็ง, การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน, เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม, ความเข้มแข็งในชุมชน และแนวทางการดำเนินธุรกิจของแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ตลาดร้อยปีสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของการท่องเที่ยวในชุมชน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งวิธีเชิงปริมาณ และวิธีเชิงคุณภาพ ที่เป็นแบบ Concurrent Using Multilevel Sample กลุ่มตัวอย่างแบ่ง ได้แก่ กลุ่มของประชาชนในเขตพื้นที่ชุมชนตลาดร้อยปีสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 389 คน และกลุ่มของผู้นำและนักวิชาการ จำนวน 5 ราย สถิติที่ใช้ในการการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)


ผลการวิจัย พบว่า นโยบายของรัฐเชิงรุก ส่งผลกระทบเชิงลบกับความสำเร็จของการท่องเที่ยวในชุมชน ผู้นำที่เข้มแข็ง ไม่ส่งผลกระทบกับความสำเร็จของการท่องเที่ยวในชุมชน นอกจากนี้การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ส่งผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จของการท่องเที่ยวในชุมชน และเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมส่งผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จของการท่องเที่ยวในชุมชน อย่างไรก็ตาม ความเป็นตัวแปรแทรก คือ ความเข้มแข็งในชุมชน เป็นปัจจัยสนับสนุนผลกระทบเชิงบวกระหว่างนโยบายของรัฐเชิงรุก และความสำเร็จของการท่องเที่ยวในชุมชน ความเข้มแข็งในชุมชน เป็นปัจจัยสนับสนุนผลกระทบเชิงลบระหว่างผู้นำที่เข้มแข็ง และความสำเร็จของการท่องเที่ยวในชุมชน ความเข้มแข็งในชุมชน ไม่เป็นปัจจัยสนับสนุนผลกระทบระหว่างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และความสำเร็จของการท่องเที่ยวในชุมชน และความเข้มแข็งในชุมชน ไม่เป็นปัจจัยสนับสนุนผลกระทบระหว่างเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และความสำเร็จของการท่องเที่ยวในชุมชน

Article Details

บท
Articles

References

ชูสิทธิ์ ชูชาติ. (2543). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่ : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฎเชียงใหม่.
เทศบาลตำบลสามชุก. (2557). รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557.
ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช. (2551). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี เขตภาคกลาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี).
บุญอนันต์ พินัยทรัพย์ และพลาวรรณ คำพรรณ์. (2549). โครงการศึกษาชุมชนเข้มแข็ง กระบวนการสร้างสรรค์คืน พลังสู่ ชุมชน: หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ประพัทธ์ชัย ไชยนอก. (2553). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษาบ้านด่านซ้าย อำเภอด่าน ซ้าย จังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย).
พจนารถ กรึงไกร. (2545). การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับชุมชนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิง
นิเวศและวัฒนธรรม: กรณีศึกษาตำบลโป่งงาม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. (ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันราชภัฏเชียงใหม่).
พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์. (2549). ภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครศรีธรรมราชในมุมมองของ นักท่องเที่ยว. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์).
เพ็ญแข แสงแก้ว. (2540). การวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ฟันนี่พลับชิ่ง.
เพ็ญศรี ม้าแก้ว. (2551). การพัฒนาแผนแม่บทชุมชนโดยชุมชนมีส่วนร่วมของหมู่บ้านหนองหม้อตำบลป่าอ้อดอนชัย
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).
ภาวิดา รังษี. (2550). ความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ กรณีศึกษา บ้านแม่กำปอง กิ่งอำเภอดอน จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ยุวดี นิรัตน์ตระกูล. (2544). การท่องเที่ยวชุมชน: LIFE-SEEING VS SIGHTSEEING. จุลสารการท่องเที่ยว.
20(2): เมษายน - มิถุนายน, 5-9.
สุประดิษฐ์ อยู่คง. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานในโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์ ของตำบลพังราด อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. ขอนแก่น: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยของแก่น.
สุพรรณนา หัศภาค. (2545). ปัจจัยที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศให้มาท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่:
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมหมาย ทองขาว. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน บ้านโงกน้ำ
ตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. (วิทยานิพนธ์รัฐประสาศนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
อัจฉรา หลาวทอง. (2550). การศึกษาแนวทางการจัดการทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวในเขต อีสานใต้. มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
อมรา อินทรจักร. (2550). ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านศรีดงเย็น ตำบล
ด่านช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยแม่โจ้).
Armstrong, S. J. & Overton, T. S. (1997). Estimating Non-response Bias in Mail Surveys. Journal of Marketing Research. 14(3), 396 - 402.
Carlo, G. & Randall, B. A. (2002). The Development of a Measure of Prosaically Behaviors for Late
Adolescents. Published in Journal of Youth and Adolescence. 31(February), 35.
Cohen, J., and Cohen, P. (1983). Applied Multiple Reegressional Correlation Analysis for the
Behavioral Sciences (2nd ed.). Hillsdale NJ: Erlbaum.
Cooke, K. (1982). Guidelines for Socially Appropriate Tourism Development in British Columbia. Journal of Travel Research. 21: 22-28.
Cronbach, L. J. (1974). Essentials of Psychological Testing. 3 rd Ed. New York: Harper and Row.
Freddie, A. (2005). Leadership in Rural Areas: Breathing New Vitality into Rural Communities.
Retrieved May 23, 2005 from http//www.socwk.utah.edu2rural/pdf/6-b.pdf.
Jamal, T. & Getz, D. (1995). Collaboration Theory and Community Tourism Planning. Annals of Tourism Research. 22(1), 186-204.
Kinnaird, V. & Hall, C. M. (1994). Tourism: A Gender Analysis. New York: John Wiley and Sons.
Murphy, P. E. (1985). Tourism: A Community Approach. New York: Methuen.
Osti, L., Brida, J. G. & Barquet, A. (2010). Segmenting Resident Perceptions Towards Tourism-a Cluster Analysis with a Multinomial Legit Model of a Mountain Community. International Journal of Tourism Research. 12(5), 591-602.
Woodley, A. (1993). Tourism and Sustainable Development: The Community Perspective.
In Tourism and Sustainable Development: Monitoring, Planning, Managing, J.G. Nelson, R. Butler and G. Wall, eds., pp. 135-146. Dept. of Geography Publication Series No.37, University of Waterloo.
Yamane, T. (1973). Statistics an Introductory Analysis. 3rd Ed. New York: Harper & Row, Publishers, Inc.