แรงจูงใจในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในตลาดย้อนยุคในประเทศไทย

Main Article Content

จักรเกียรติ์ เมธานัย
สร้อยบุปผา สาตร์มูล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแรงจูงใจที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในตลาดย้อนยุคแบบดั้งเดิมและสร้างขึ้นมาใหม่ และเพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในตลาดย้อนยุค ในประเทศไทย โดยประยุกต์ใช้แนวคิดแรงจูงใจในการท่องเที่ยว ปัจจัยผลักและปัจจัยดึง วิธีการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ การวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ประกอบการในตลาดย้อนยุค และการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 615 คน ใช้สถิติวิเคราะห์เบี้องต้น และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการประมาณค่า โดยใช้ MNProbit และ BVProbit ผลการวิจัยพบว่า
1) พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในตลาดย้อนยุคส่วนใหญ่ นักท่องเที่ยวตัดสินใจเลือกเข้ามาท่องเที่ยว เพื่อทำกิจกรรม และเข้าชมกิจกรรมการแสดงด้านวัฒนธรรมของท้องถิ่นของตลาด ซึ่งเกิดขึ้นกับตลาดย้อนยุคแบบดั้งเดิม และการเข้าถ่ายภาพเก็บความทรงจำ ซึ่งเกิดขึ้นในตลาดย้อนยุคที่สร้างขึ้นใหม่ และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในตลาดย้อนยุค พบว่า ปัจจัยดึงและปัจจัยผลักด้านทัศนคติ และปัจจัยดึงด้านวัฒนธรรมของตลาดย้อนยุค ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในตลาดย้อนยุคแบบดั้งเดิม ส่วนปัจจัยด้านค่านิยม (แฟชั่น) ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวในตลาดย้อนยุคแบบที่สร้างขึ้นใหม่

Article Details

บท
Articles

References

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยว ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ:
สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
ดนัย จันทร์เจ้าฉาย. (2553). การตามล่าหาอดีต การตลาดในโลกาภิวัฒน์. https://www.oknation.net/blog/print.php?id=534171.
ภาวิตา ใจกล้า. (2552). แกะรอย: เกาะติดสถานการณ์ “ตลาดโบราณ”. หมายเหตุสังคม.
ภูเกริก บัวสอน. (2554). การฟื้นฟูตลาดเก่าเมืองไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร,
กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-25564).จาก https://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
Adler, N. (1986). International Dimensions of Organization Behavior. Boston, MA:Kent Publishing
Company.
Burim O. (2011). Ratro Marketing. Mahidol University. Bangkok.
Cooper, C., Fletchet, J., Fyall, A., Gilbert, D., & Wanhill, S. (2005). Tourism Principles and
Practice. 3rd ed. Harlow: Pearson Education Limited.
Danai, C. (2012). Hunt for the Past. Marketing in Globalization: http//www.brandabe.com
Kanlaya, V. (2552). Multivariate data analysis. 4th ed. Bangkok: Thamasan
Lertporn, P. (2012). Tourist behavior. Chulalongkorn University Press
Narasri, W., & Choosak, U. (2551). Business Research Methodology. Bangkok. Publisher of
Chulalongkorn University
PhuKirk, B. (2011). The revitalization of the Old Markets in Thailand: Thesis Ph.D. Silpakorn
University. Bangkok.
Iso-Ahola, S. (1982). Toward A Social Psychological Theory of Tourism Motivation: A Rejoinder.
Annals Tourism Research, 9(2), 256-262.
Charles, R., & Ritchie, B. (2006). Tourism Priciples, Practice, Philosophies. 10th ed. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc., P.257.
Swarbrooke. J., & Horner, S. (1999). Consumer Behaviour in Tourism. Oxford: Butterworth- Heinemann.
Thanin, S. (2555). Statistical Analysis and Research with SPSS. 7th ed. Bangkok: Business R & D.
Turnbull, D. R., & Uysal, M. (1995). An Exploratory Study of German Visitors to the Caribbean: Push
and Pull Motivations. Journal of Travel and Tourism Marketing, 4 (2): 85-92.
Uysal, M., & Jurowski, C. (1994). Testing the Push and Pull Factors. Annals of Tourism Research, 21 (4): 844-46.
Yuan, S., & McDonald, C. (1990). Motivational Determinates of International Pleasure Travel. Journal
Tourism Research, 29 (1): 42-44