ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออมส่วนบุคคลของคนวัยทำงาน ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

จันทะสุก ลาดสะอาด
โรจนา ธรรมจินดา
สุจรรย์พินธ์ สุวรรณพันธ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออมส่วนบุคคลของคนวัยทำงานในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ใช้ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคนวัยทำงานอายุระหว่าง 18 – 60 ปี ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM) ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเหตุที่ส่งอิทธิพลต่อตัวแปรผล ด้วยโปรแกรมการวิเคราะห์ทางสถิติ Amos ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการออมส่วนบุคคลได้รับอิทธิพลโดยตรงจากปัจจัยทัศนคติที่นำไปสู่การออม ปัจจัยอิทธิพลจากคนรอบข้างและปัจจัยรายได้ในทิศทางบวก
ซึ่งตัวแปรเหล่านั้นสามารถอธิบายพฤติกรรมการออมได้ร้อยละ 67 สำหรับทัศนคติที่นำไปสู่การออมพบว่าได้รับอิทธิพลโดยตรงจากปัจจัยความรู้ทางการเงิน ปัจจัยอิทธิพลจากคนรอบข้าง ปัจจัยการควบคุมตัวเองและปัจจัยระดับการศึกษาในทิศทางบวก ขณะที่ปัจจัยความทนต่อความเสี่ยงมีอิทธิพลโดยตรงต่อทัศนคติที่นำไปสู่การออมในทิศทางลบ ซึ่งตัวแปรเหล่านั้นสามารถอธิบายทัศนคติที่นำไปสู่การออมได้ร้อยละ 66  ผลการศึกษายังพบว่าพฤติกรรมการออมได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากปัจจัยความรู้ทางการเงิน ปัจจัยความทนต่อความเสี่ยง ปัจจัยการควบคุมตัวเอง ปัจจัยอิทธิพลจากคนรอบข้างและปัจจัยระดับการศึกษาโดยผ่านทางตัวแปรทัศนคติที่นำไปสู่การออม นอกจากนั้น ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยอายุและปัจจัยจำนวนผู้พึ่งพิงไม่มีอิทธิพลต่อทัศนคติที่นำไปสู่การออมและพฤติกรรมการออมทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยระดับนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
Articles

References

เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ. (2523). การวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2), กรุงเทพมหานคร, โอเดียนสโตร์.
ฐิติพร ศรีชัยชนะ. (2550). ความสัมพันธ์ของการออมภาครัวเรือนกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2541). รูปแบบปฏิสัมพันธ์นิยมเพื่อการวิจัยสาเหตุของพฤติกรรมและการพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์. วารสารทันตาภิบาล, 10(2): 105-108.
ทิพย์สุดา จันทร์แจ่มหล้า. (2544). ปัจจัยด้านจิตสังคมของผู้ดูแลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมให้การสนับสนุนทางสังคมแก่ผู้ติดเชื้อเอดส์. สาขาวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปรเมศวร์ ว่องพิริยพงศ์. (2551). การออมและการลงทุนของพนักงานภาคเอกชน. หลักสูตรปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การจัดการ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พงศกร สุริยพงค์ประไพ และ ศรีสิทธิ อังศุโภไคย. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการออมของพนักงานธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พนม กิติวัง. (2543). พฤติกรรมการออมของครัวเรือนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
โสภณ โรจน์ธํารง. (2529). พฤติกรรมการออมของครัวเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Allen, R., & Santrock, J. W. (1993). Psychology: The Contexts of Behavior. USA: Wm. C. Brown Communication.
Bajtelsmit, V. L., & Van Derhei, J. L. (1997). Risk Aversion and Pension Investment Choices in Positioning Pensions for the Twenty-first Century. University of Pennsylvania Press, 45-66.
Baumeister, R. F. (2002). Self – Control Failure, Impulsive Purchasing, and Consumer Behavior. The Journal of Consumer Research, the University of Chicago Press, 28(4): 670 – 676.
Browning, M. (1995). Saving and the Intra-household Distribution of Income: An Empirical Investigation. Richerche Economiche, 48: 277–292.
Browning, M., & Lusardi, A. (1996). Household Saving: Micro Theories and Micro Facts. Journal of Economic Literature, 34(4): 1797-1855.
Burbridge, J. B., & Robb, A. L. (1985). Evidence on Wealth-age Profiles in Canadian Cross- Section Data. Canadian Journal of Economics, 18(4): 854–875.
Chai Ming, T., Chia Ying, K., Fong Sheng, N., Lew Wan, C., & Tan Chang, T. (2012). Determinants of Saving Behavior among the University Students in Malaysia. Faculty of Business and Finance Department of Commerce and Accounting, University of Tunku Abdul Rahman.
Danzinger, S., Gaag, J. van der, Smolensky, E., & Taussig, M. K. (1982). The Life-Cycle Hypothesis and the Consumption Behavior of the Elderly. Journal of Post-Keynesian Economics, 5: 208–227.
Droms, W. G. (1987). Investment Asset Allocation for PFP Clients. Journal of Accountancy, 163(4): 114–118.
Duflo, E., & Saez, E. (2001). the Role of Information and Social Interactions in Retirement Plan Decisions: Evidence from a Randomized Experiment. National Bureau of Economic Studies Working Paper, 8885.
Esenvalde, I. (2010). Psychological Predictors of Saving Behavior: Contrasting the Impact of Optimism and Burnout on Self-control, Achievement Motivation and Savings Behavior. Dissertation, Alliant International University, Los Angeles, 3452407, 153.
Grabe, J. E., & Joo, S. (1997). How to Improve Financial Knowledge, Attitudes, and Behaviors among Consumer Science Constituencies. The Journal of Consumer Education, 17: 20-26.
Guariglia, A., & M. Rossi. (2002). Consumption, Habit Formation, and Precautionary Saving: Evidence from the British Household Panel Survey. Oxford Economic Papers, 54: 1–19.
Hogarth, J. M. (2002). Financial Literacy and Family and Consumer Sciences. Journal of Family and Consumer Sciences, 94: 15-28.
Hilgert, M. A., Hogarth, J. M., & Beverly, S. G. (2003). Household Financial Management: The Connection between Knowledge and Behavior. Fed. Res. Bull, 89: 309-322.
Hurd, M. D. (1987). Saving of the Elderly and Desired Bequests. American Economic Review, 77(3): 298–312.
Lim, C. S., Sia, B. K., & Gan, G. J. (2011). The Analysis of Psychological Factors Affecting Savers in Malaysia. Middle Easter Finance and Economic, 12: 77-85.
Lusardi. A., & Mitchell, O. S. (2006). Financial Literacy and Planning: Implications for Retirement Wellbeing. Department of Economics, Dartmouth College.
Mahdzan, N. S., & Tabiani, S. (2013). The Impact of Financial Literacy on Individual Saving: an Exploratory Study in the Malaysian Context. Transformations in Business and Economic, 12(1): 41-55.
Sabri, M. F., & MacDonald, M. (2010). Savings Behavior and Financial Problems among College Students: The Role of Financial Literacy in Malaysia. Cross-Cultural Communication, 6(3): 103-110.
Schagen, S., & Lines, A. (1996). Financial Literacy in Adult Life: a Report to the NatWest Group Charitable Trust, National Foundation for Educational Research.
Sherman, D. H., Kim, K. T., & Liu, F. (2001). Parameter Assumptions in Normative Analyses of Household Financial Decisions. Normative analyses of household financial decisions typically assume, the Ohio State University.
Shiyu Yu, J. T. (2011). A Study of Students' Saving Behavior, Attitude towards Saving and Motivation to Save. The Umea School of Business.
Teresa, M., Garcia, M., Barros, C., & Selvestre, A. (2011). Saving Behavior: Evidence from Portugal. International Review of Applied Economics, 25(2): 225-238.
Yamane, T. (1967). An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.