สถานการณ์การจัดการทรัพยากรป่าต้นน้ำภายใต้ภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนพื้นที่สูงตามแนวพระราชดำริ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.53คำสำคัญ:
การจัดการป่าต้นน้ำ, โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, ภูมิปัญญาท้องถิ่นบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการทรัพยากรป่าต้นน้ำภายใต้ภูมิปัญญาวัฒนธรรมชาวปกาเกอะญอตามแนวทางการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้การสังเกตุ สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่มและประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 30 คน คือ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชาวบ้าน นักวิชาการ และนักพัฒนา นำเสนอข้อมูลโดยการสังเคราะห์ ตีความและวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา 1) สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและทรัพยากรชุมชน พบว่า การตั้งถิ่นฐานของชุมชนยาวนานกว่า 200 ปี โดยวิถีชีวิตเกี่ยวข้องกับป่าจากการทำไร่หมุนเวียนเพื่อยังชีพสู่เกษตรเชิงพาณิชย์ภายหลังจากภาครัฐเข้ามาดำเนินการให้เลิกปลูกฝิ่น ส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจและรัฐดำเนินนโยบายสัมปทานป่าไม้แก่นายทุน พ่อค้า รวมทั้งรัฐสร้างวาทกรรมการพัฒนาบนอำนาจ ความรู้ ความขัดแย้ง ความรุนแรงและความเป็นอื่นในอคติทางชาติพันธุ์ เช่น ชาวเขาทำไร่เลื่อนลอย จนกระทั่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระองค์ทรงสร้างฟาร์มฯ ในโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้น ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนและรักษ์ป่าควบคู่กัน 2) ด้านการจัดการทรัพยากรป่าต้นน้ำตามแนวทางการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พบว่า แนวคิดการพัฒนาตามพระราชดำริภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิม เช่น การผูกรกกับต้นไม้ (เดปอถู่) เลี้ยงผี (หลื่อต่าปว่า) เลี้ยงผีไฟแนวกันไฟ (หลื่อเหม่โต) เป็นพิธีกรรมสะท้อนชีวิตบนพื้นที่สังคมและจิตวิญญาณ
Downloads
References
กุลวดี เจริญศรี. (2559). มรดกภูมิปัญญาปกาเกอะญอ. https://zhort.link/fJv.
กรมป่าไม้. (2557). คำสั่ง/ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง. สำนักป้องกันรักษา
ป่าและควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้.
ขวัญชีวัน บัวแดง. (2541). การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยง:กรณีศึกษา
หมู่บ้านในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่: รายงานการวิจัย. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
คณะกรรมการอำนวยการบูรณาการเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง. (2554). แนวนโยบายและหลัก
ปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2561). การถ่ายทอดองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาของครูศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อ
ส่งเสริมความเป็นพลเมืองวิถีเขียวของผู้เรียนในพื้นที่โครงการหลวง ภาคเหนือของไทย.มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:138046.
ไชยนารายณ์. (2563). ครูบาเจ้าศรีวิชัยท่านเป็นกะเหรี่ยงยางแดง บันทึกแห่งล้านนา: ตอนครูบา
เจ้าศรีวิชัยท่านเป็นกระเหรี่ยงยางแดง. https://zhort.link/fJA.
ธเนศ ณุวงษ์ศรี. (2545) การเปรียบเทียบการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของเกษตรกรชาวเขาเผ่าม้ง
และเผ่ากะเหรี่ยงในศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นครินทร์ เข็มทอง. (2550). การต่อสู้กับปัญหาการผลิตพืชเชิงพาณิชย์ของกลุ่มอนุรักษ์ชาวปกา
เกอะญอ: กรณีศึกษาบ้านห้วยส้มป่อย ตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เนตรดาว ยั่งยุบล. (2544). คนชายขอบกับกระบวนการสร้างเวทีการต่อสู้เพื่อแย่งชิงทรัพยากร.
[วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปรัชญา ปิ่นขันธยงค์. (2553). การแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งจากการใช้ที่ดินในเขตป่าอนุรักษ์โดย
การใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ร่วมกับการกำหนดแนวเขตการใช้ที่ดินแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาบ้านห้วยส้มป่อย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (2535). องค์ความรู้นิเวศวิทยาของชุมชนเกษตรกรรมในเขตป่า: ศึกษา
กรณีกะเหรี่ยงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร. [วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและ
มานุษยวิทยามหาบัณฑิต] กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เพ็ญสุภา สุขคะ. (2560). ปริศนาเรื่องชาติพันธุ์ “ครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นยางแดงจริงหรือ”?.
https://www.matichonweekly.com/column/article_49170.
ไพลิน ภู่จีนาพันธุ์. (2543). ปัญหาการเมืองเรื่องนโยบายป่าชุมชนในประเทศไทย: ศึกษากรณีร่าง
พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. … [วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต] กรุงเทพฯ:
คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการปกครอง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มติชน. (2561). พญาเสือแฉสิ้น‘กลยุทธ์นายทุน-นักการเมือง’รุกป่าชุมพรเหี้ยนใช้ชาวบ้านเป็น
เหยื่ออ้างจน. https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_907657.
มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ. (2558). ไร่หมุนเวียน: ประเด็นท้าทายและความหมายของมรดกโลกทาง
วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: บลูมมิ่งครีเอชั่น.
ยศ สันตสมบัติ. (2547). นิเวศวิทยาชาติพันธุ์ ทรัพยากรชีวภาพและสิทธิชุมชน. เชียงใหม่: ศูนย์
ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วินัย บุญลือ. (2545). ทุนทางวัฒนธรรมและการช่วงชิงอำนาจเชิงสัญลักษณ์ของชุมชนชาวปกา
เกอะญอ. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สารคดี ออนไลน์. (2564). โลกใบใหญ่ "ความจริง" ของปัญหาคนกับป่าที่จอมทอง.
https://www.sarakadee.com/feature/1999/12/people-forest.htm.
สำนักงานกปร.. (2562). การติดตามผลลัพธ์การดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562.
http://www.rdpb.go.th/th/Download/%E0%B9%B8%87-v10171.
สำนักงานอุทยานแห่งชาติ. (2014). อช.ดอยสุเทพ- ปุย.
[https://nps.dnp.go.th/parksdetail.php?id=.
สุวิทย์ ทะเลไพรพนา. (2550). ผลกระทบจากการเกษตรบนพื้นที่สูงต่อคุณภาพน้ำและการสะสม
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในตะกอนท้องน้ำกรณีศึกษา: ลุ่มน้ำแม่เตียนตอนบน ตำบลแม่วิน
อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิยาลัยแม่โจ้.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2547). รายงานการวิจัยระบบการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน: เล่ม 1
สถานภาพและความเปลี่ยนแปลง. เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Avery, G. C. & Bergsteiner, H. (eds.). (2016). Sufficiency Thinking: Thailand’s Gift
to an Unsustainable World, Sydney: Allen & Unwin.
ILaw. (2562). การจัดการป่าไม้ฉบับคสช.:ยึดที่ทำกินจากคนจนยกผืนป่าให้
Glazer. N. and Moynihan.D,. (1975). Ethnicity theory and experience. Cambridge,
Massachusetts and London: Harvard University Press.
Keyes. Charles F. (1979). The Karen in Thai history and the history of the Karen
in Thailand. In ethnic adaptation and identity: The Karen on the Thai frontier with Burma, edited by Charles F. Keyes, 25-62. Philadelphia: Institute for the study of human Issues.
Luce. G.H. (1959). Introduction to the comparative study of Karen languages.
Journal of the Burma research society 42(1):1-18.: Praeger.
UNESCO. (2003). Text of the convention for the safeguarding of the intangible cultural heritage. http://ich.unesco.org/en/conventionetrieved.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.