การพัฒนานวัตกรรมทางการตลาดหลักสูตรภาษาจีนของมหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.52คำสำคัญ:
นวัตกรรมทางการตลาด, หลักสูตรภาษาจีน, มหาวิทยาลัยเอกชน, จังหวัดปทุมธานีบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพปัญหา และความต้องการในการพัฒนาด้านการตลาดหลักสูตรภาษาจีนของมหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการตลาดหลักสูตรภาษาจีนของมหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 227 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ทำการวิจัยเชิงปริมาณในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพปัจจุบันที่มีต่อหลักสูตรภาษาจีนมากที่สุด คือ ด้านบุคลากร และด้านผลิตภัณฑ์ ในส่วนสภาพปัญหาที่มีต่อหลักสูตรภาษาจีน คือ ด้านกระบวนการ และในด้านความต้องการที่มีต่อหลักสูตรภาษาจีน คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบุคลากร และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย สำหรับแนวทางการพัฒนาด้านการตลาดหลักสูตรภาษาจีน ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านราคา
2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันที่มีต่อหลักสูตรภาษาจีนของนักศึกษาหลักสูตรภาษาจีนของมหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าส่วนใหญ่ ผู้สอนมีความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาเป็นอย่างดีอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาผู้สอนมีคุณธรรม จริยธรรม มีบุคลิกภาพที่ดีเหมาะสม
3) นวัตกรรมการตลาดหลักสูตรภาษาจีนของมหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี โดยนำส่วนประสมทางการตลาด 7Ps มาวิเคราะห์สิ่งที่มีความต้องการมากที่สุดในการพัฒนานวัตกรรมการตลาดจะมี 4 ด้านคือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบุคลากร ด้านการส่งเสริมการขาย และด้านกระบวนการ
Downloads
References
กรณิศ วงศ์วานิช และกรเอก กาญจนาโภคิน. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพล
ต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตของนักศึกษา
ปริญญาโท มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. 11(1) : 13-
กันตรัตน์ สุจิตวนิช. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกโรงเรียน
สองภาษาเอกชน A. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. 17(2) : 71-88.
จินตนา วิเศษจินดา และสมพงษ์ จิตระดับ. (2561). แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Silpakorn
University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11(2) : 445-
เจตนา สุขอเนก และธำรง รัตนภรานุเดช. (2561). การจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อความอยู่รอดของ
มหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย. วารสารเซนต์จอห์น. 21(28) : 227-299.
บุญเลี้ยง ทุมทอง และประทวน วันนิจ. (2565). ผลกระทบจากสถานการณ์โควิดที่มีต่อการจัด
การศึกษาไทย: การศึกษาทางเลือกคือทางหลัก และทางรอดในการจัดระบบการศึกษา
ไทยในอนาคต. วารสารวิชาการ ธรรมทรรศน์. 22(4) : 375-391.
พระปลัดเขตขันท์ คนงานดีและศักดิ์ดา งานหมั่น. (2567). การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่
สนับสนุนการพัฒนาผู้เรียน. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย. 6(2) :
-482.
ภัทรปภา ทองแท่งใหญ่ และอารดี เก้าเอี้ยน. (2566). การศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการ
ในการเสริมสร้างความสามารถทางการพูดภาษาจีน สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 21(1) : 265-277.
สมยศ จันทร์บุญและคณะ. (2565). นวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาจีนเชิงบูรณาการเพื่อ
เตรียมความพร้อมกำลังคนในศตวรรษที่ 21 รองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
จังหวัดเชียงราย. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ. 32(2) : 99-111.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.
-2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2566). ข้อมูล
สถาบันอุดมศึกษาประกาศ. https://info.mhesi.go.th/homestat_academy1.php.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียน
การสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานสถิติแห่งชาติกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม. (2564). รายงานสถิติจังหวัด
ปทุมธานี พ.ศ. 2564. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์สำนักงานสถิติจังหวัดปทุมธานี.
Bonar Bangun Jeppri Napitupulu et al. (2023). The Effect of Marketing Mix on
Student Decision to Choose a Private University. Journal of Information systems and Management. 2(3): 110-119.
John W. Best. (1997). Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs. New Jersey.
Prentice Hall, Inc.
Kotler Philip. (2003). Marketing Management. 11th ed. Upper Saddle River, NJ:
Prentice-Hall.
Nastasi and Schensul. (2005). Contributions of qualitative research to the validity of
intervention research. Journal of School Psychology. 43(3): 177-195.
Stuffle Beam. (1971). The Relevance of the CIPP Evaluation Model for Educational
Accountability. Journal of Research and Development in Education. 5: 19-25.
Sabbatini. (2007). There Differences between the Brains of Males and Females?.
State University of Campinas, Brazil. Retrieved from
https://www.cerebromente.org.br/n11/mente/eisntein/cerebro-
homens.html.
Taro Yamane. (1973). Statistics an introductory analysis. New York Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.