การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพ่น อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.64คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของประชาชน, การพัฒนาท้องถิ่น, องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพ่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพ่น อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี 2) ศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพ่น อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี 3) แนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพ่น อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพ่น อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 374 คน โดยใช้สูตรคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง สูตรของยามาเน่ ในการเก็บข้อมูลจะใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t-test (Independent Sample) และ F-test (One Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
- การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพ่น อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.36, S.D.= 0.57) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการมีส่วนร่วมประเมินผล ( =4.57, S.D.=0.56) รองลงมาคือด้านการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ ( = 4.47, S.D.= 0.61) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ( = 4.12, S.D.= 0.73)
- ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วม ประชาชนที่มีเพศ ระดับการศึกษา ต่างกัน การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล น้ำพ่น อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานีไม่แตกต่างกัน และประชาชนที่มีอายุ อาชีพ ต่างกัน การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพ่น อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย การจัดทำแผน และโครงการให้ตรงกับความต้องการของประชาชนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำประชาคมพร้อมกันทุกหมู่บ้าน และในการดำเนินโครงการต่างๆ ควรชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบ ทั้งด้านงบประมาณ และความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการฯ
Downloads
References
จีรนันท์ ดำเนินงามและอภิชาติ พานสุวรรณ.(2566). การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนใน
การพัฒนาท้องถิ่นตําบลภูเขาทอง อําเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์. 6(3), 1-11.
ทะเบียนอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี.(2565).ข้อมูลทั่วไปด้านจำนวนประชากรของอำเภอ
หนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี.
พรรณี บุญมี.(2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลไทรม้าอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ. 9(3), 86-94.
พระอธิการไสว ถาวโร,พัชรี ศิลารัตน์. (2561).การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
ของเทศบาลตําบลนํ้าคํา อําเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม 12(3),103-112.
ยุทธพงษ์ กัยวรรณ์. (2543). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สุดา สุวรรณาภิรมย์ และวิชิต อู่อ้น. (2548). การวิจัยธุรกิจ, กรุงเทพฯ : บริษัทเซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส.
สุวิมล อิสระธนาชัยกุล และคณะ (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการของวิสาหกิจชุมชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยวิชาการ. 7(7).
อธิพงษ์ เพชรสุทธิ. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏพระนคร. 8(2), 66-80.
อรพินท์ สพโชคชัย. (2550).การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน.
กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
Cohen,J., & Uphoff, N. (1980). Participation's place in rural development: Seeking clarity through specificity. World Development, (8), 213-235.
Taro Yamane. (1973). Statistic: an Introductory Analysis. 2nd Ed. New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.