แนวทางการพัฒนาท้องถิ่นด้านโครงสร้างพื้นฐานในเขตตำบลยางขาว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.56คำสำคัญ:
การพัฒนา, ท้องถิ่น, โครงสร้างพื้นฐานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาการพัฒนาท้องถิ่นด้านโครงสร้างพื้นฐานในเขตตำบลยางขาว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ และ 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นด้านโครงสร้างพื้นฐานในเขตตำบลยางขาว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 คน เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการสังเคราะห์ ตีความหาข้อสรุปในประเด็นสาระสำคัญและนำมาเรียบเรียงผลการศึกษาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า
- สภาพปัญหาการพัฒนาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน พบว่า ประปายังเป็นประปาของหมู่บ้าน ยังไม่ใช่ประปาภูมิภาค โดยเป็นน้ำดิบจากบ่อบาดาลที่มีปัญหาเป็นสนิมเหล็ก มีตะกอน มีสีขุ่นเหลือง ต้องใช้น้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับ ไฟฟ้าแสงสว่างยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ไฟส่องสว่างทางชำรุดหลายจุด เสียบ่อย การซ่อมแซมล่าช้า การคมนาคม ขนส่ง ไม่มีขนส่งสาธารณะในพื้นที่ ถนนชำรุด เสียหายหลายจุด เป็นหลุม เป็นบ่อ มีน้ำขัง ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อย
แนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน ด้านประปา ควรมีน้ำประปาส่วนภูมิภาคเข้าตำบลในทุกพื้นที่ มีการจัดตั้ง ระบบประปาเพื่อจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ ควรมีการกรองน้ำให้สะอาด ทำความสะอาดถังเก็บน้ำให้บ่อยๆ ก่อนที่จะนำมาให้ประชาชนใช้ หรือทำธนาคารน้ำใต้ดินให้ชาวบ้านเพื่อให้มีน้ำเพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำของประชาชน สำหรับไฟฟ้าแสงสว่าง ควรให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าแสงสว่างในพื้นที่แก้ไขไฟฟ้าที่ขัดข้อง ควรซ่อมแซมโดยด่วน เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ เพิ่มไฟฟ้าแสงสว่างให้มีความสว่างทุกพื้นที่ในตำบล โดยเฉพาะที่เป็นจุดเสี่ยง และป้องกันการเกิดปัญหาอาชญากรรม ติดไฟตามไหล่ทางเพิ่มขึ้น ตัดต้นไม้ กิ่งไหม้ที่บดบังแสงสว่าง การคมนาคม/ขนส่ง ควรมีถนนสาธารณะที่สะดวก มีรถประจำทางในเขตชุมชน หมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางด้วยความสะดวกรวดเร็ว ปลอดภัย ควรปรับปรุงถนนจากลูกรัง ลาดยาง ให้เป็นคอนกรีตทุกเส้นในหมู่บ้าน เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ลดการเกิดอุบัติเหตุ
Downloads
References
เกรียงไกร จันทร์กูล. (2559). สภาพความเป็นจริงและระดับความคาดหวังของประชาชนต่อการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ.2566-2570. นครสวรรค์ : องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์.
คิมหันต์ ศรีศักดิ์. (2560). การดำเนินงานด้านโครงสร้างพิ้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
เจษฎาพร ชูช่วยสุวรรณ. (2553). ผลกระทบของเส้นทางคมนาคมทางบกต่อลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัย และพาณิชยกรรมของชุมชนเกษตรกรรมริมน้ำคลองอ้อมนนท์ จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต หลักสูตรปริญญาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เชาว์ ตะสันเทียะ. (2561). การศึกษากระบวนการผลิตและคุณภาพน้ำประปาในพื้นที่ตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนายั่งยืน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ : คู่มือนักศึกษาและนักวิจัยสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8 กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
พงษวัฒน์ วิวัฒน์กมลชัย. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการพลังงานไฟฟ้าของครัวเรือนในเขตพื้นที่ อำเภอเมืองเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภานุพันธ์ บริสุทธิ์. (2557). การประเมินคุณภาพการบริหารงบประมาณกิจการประปาหมู่บ้าน : กรณีศึกษา ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. โครงงานหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
มยุรี โยธาวุธ. (2560). การบริหารจัดการระบบประปาหมู่บ้านของประเทศไทย: กรณีศึกษาชุมชน จังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
รุ่งธรรม ธรรมรักษ์. (2561). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม กรณีศึกษา: เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต หลักสูตรรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรม กลุ่มวิชาเทคโนโลยีการจัดการงานก่อสร้าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.