ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.67คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษา, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ที่มีต่อภาวะผู้นำยุคดิจิทัลผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ 2) เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 252 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามรวบรวมความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง โดยสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ สถิติสัมประสิทธิ์คราเมอร์ส วี ค่า Tolerance ค่า VIF และสถิติวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ร่วมกับการวิเคราะห์เอกสาร บทความ ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็น ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านปริมาณงาน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 4.45) รองลงมาคือ ด้านคุณภาพงาน ( = 4.44) ด้านค่าใช้จ่าย ( = 4.44) และด้านเวลา ( = 4.41) ตามลำดับ และอิทธิพลของภาวะภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ โดยบุคลากรที่มีระดับการศึกษาและทักษะที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านทัศนคติทางวิชาการและทัศนคติส่วนบุคคล ซึ่งประกอบไปด้วยความรับผิดชอบ การชอบการเรียนรู้ การพัฒนาตนเอง การสื่อสาร และการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ องค์ประกอบเหล่านี้มีผลที่แตกต่างกันออกไปในด้านการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริหารงานโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศ ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการคิดเป็นร้อยละ 21.2 โดยมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์เท่ากับ ± .364 ชี้ให้เห็นว่าภาวะผู้นำยุคดิจิทัลมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาทักษะและความรู้ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ และเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานในสถานศึกษาในยุคดิจิทัล
Downloads
References
จิระวดี สินทร. (2565). การบริหารระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ยั่งยืนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสาร Journal of Roi Kaensarn Academi.7(4) : 112 – 128
พฤธิสิทธิ์ อุทุม. (2559). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
พันทิยา ทรัพย์ประเสริฐ. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของ พนักงาน บริษัท เรดซีน จำกัด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พรทิพย์ บุญขวัญ, พระครูโอภาส นนทกิตติ์ และ สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย. (2566). กระบวนการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุรีรัตน์ คำชมภู. (2563). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานสรรพากรพื้นที่ กรุงเทพมหานคร 23. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.