ผลกระทบจากปัญหาข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ต่อประเทศไทย
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.37คำสำคัญ:
ผลกระทบ, ปัญหาข้อพิพาท, ทะเลจีนใต้, ประเทศไทยบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ผลกระทบจากปัญหาข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ต่อประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ 2)เพื่อศึกษาผลกระทบของประเทศไทยต่อปัญหาข้อพิพาทในทะเลจีนใต้และ 3)เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาที่มาจากผลกระทบข้อพิพาทในทะจีนใต้ต่อประเทศไทย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการเก็บแบบสัมภาษณ์ จำนวน 17 คน ได้แก่ นักวิชาการ 4 คน กรมการค้าระหว่างประเทศ 3 คน นักการเมือง 4 คน ทหารเรือ 4 คน และ นักการทูต 2 คน ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพปัญหาข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ในการอ้างสิทธิและอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ต่างๆในทะเลจีนใต้ 3 ประเด็น คือ ประเด็นที่ 1 การอ้างสิทธิและอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ต่างๆในทะเลจีนใต้ประเทศจีนและไต้หวันอ้างสิทธิ์โดยยึดจากเส้นประ 9 เส้น โดยไม่ได้ระบุหลักฐานประวัติศาสตร์หรือกฎหมายที่ไม่ชัดเจน และการอ้างสิทธิและอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ต่างๆในทะเลจีนใต้ประเทศฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม ตามหลักกฎหมายทางทะเล ค.ศ. 1982 และการกำหนดเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ประเด็นที่ 2 ผลประโยชน์แห่งชาติและทรัพยากรธรรมชาติในทะเลจีนใต้ พบว่า การอ้างสิทธิและอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ในทะเลจีนใต้ นโยบายต่างประเทศที่มีผลต่อข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ของประเทศที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นั้นมีความสำคัญมาก ประเด็นที่ 3 ยุทธศาสตร์และเส้นทางเดินเรือ พบว่า ทะเลจีนใต้เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการตั้งฐานทัพและการเคลื่อนกำลังทางยุทธศาสตร์ของชาติมหาอำนาจโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและทะเลจีนใต้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดที่เชื่อมโยงระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดียในการขนส่งหรือการเดินเรือที่สั้นที่สุดนี้
2) ผลกระทบของประเทศไทยต่อปัญหาข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ 2 ประเด็น พบว่าประเด็นที่ 1 ด้านเศรษฐกิจ พบว่า การค้าและเส้นการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ การทำความตกลงทางการค้าแบบทวิภาคีและพหุภาคีเป็นกลไกที่ใช้ในการเจรจาต่อรอง และกรอบความร่วมมือภายใต้ ASEAN Plus Three Cooperation (ATP) และการประชุมว่าด้วยเรื่องขนส่งของอาเซียน ประเด็นที่ 2 การทูตการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธีและการเจรจาแบบพหุภาคีระดับอาเซียน การทหารการขยายความร่วมมือด้านความมั่นคงกับกองทัพและหน่วยงานด้านความมั่นคงของประเทศเพื่อนบ้าน
3) แนวทางแก้ไขปัญหาที่มาจากผลกระทบข้อพิพาทในทะจีนใต้ต่อประเทศไทย พบว่า ใช้การเจรจาและสรุป Code of Conduct in the South China Sea และปฎิบัติตนตามเอกสารปฏิญญาว่าด้วยการปฏิบัติของภาคีฝ่ายต่าง ๆ ในทะเลจีนใต้ และยอมรับในกฏบัตรสหประชาชาติหลักกฎหมายทางทะเล 1982 และสนธิสัญญา TAC ว่าคู่พิพาททุกประเทศ
Downloads
References
ดุลยวัฒน์ เชาน์ดี. (2556). ปัญหาข้อพิพาททะเลจีนใต้ (ตอน 2) กรณีศึกษา ความชอบธรรมของเส้นประเก้าจุดและสิทธิน่านน้ำประวัติศาสตร์. นาวิกาธิปัตย์สาร. 86.
ธรรมรัตน์ รัตนมณี. (2562). ความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ในทะเลจีนใต้ที่มีผลต่อบทบาทของไทยในอาเซียน. กรุงเทพฯ : สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ.
ปฤณัต อภิรัตน์. (2560). ไทยต่อทะเลจีนใต้และการมองไปข้างหน้า. สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ, กรุงเทพฯ : กระทรวงการต่างประเทศ.
วายูน ศาลาอนุกูลกิจ. (2558). นโยบายต่างประเทศของจีนในสมัยเลขาธิการพรรคและประธานาธิบดีสีจิ้นผิงต่อกรณีพิพาทเกี่ยวกับหมู่เกาะสแปรตลีย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.copag.msu.ac.th/conference4/files/PDF/19.7.Wayoon%20Salalnukulkit%20915-936.pdf. สืบค้น 9 ตุลาคม 2566.
ศิโรตม์ ภาคสุวรรณ. (2560). อาเซียนและความขัดแข้งในทะเลจีนใต้. วารสารเอเชียพิจาร. 4(8) : 59–87.
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. (2559). เอกสารศึกษาเฉพาะกรณีบริบทและทิศทางการเสริมสร้างความมั่นคงร่วมทะเลจีนใต้. ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. (2556). ประเทศไทยกับกรณี the South China Sea ตอนที่ 2. บทความวิเคราะห์สถานการณ์ยุทธศาสตร์และความมั่นคงของประเทศรายสัปดาห์. 19(56) : 1-2.
สำนักเลขาธิการวุฒิสภา. (2559). ปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ ผลกระทบที่มีต่ออาเซียน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://edoc.parliament.go.th. สืบค้น 31 สิงหาคม 2565.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.