ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการ สำนักงานอัยการจังหวัด ในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 4
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.39คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, ข้าราชการธุรการ, สำนักงานอัยการจังหวัดบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการจังหวัด ในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการจังหวัด ในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการจังหวัด ในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 เป็นการศึกษา เชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการจังหวัด ในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 จำนวน 153 คน โดยการใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการ สำนักงานอัยการจังหวัด ในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.24) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเวลา มากที่สุด ( = 4.30) รองลงมา คือ ด้านปริมาณงาน ( = 4.25) ส่วนด้านค่าใช้จ่าย ได้ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( = 4.20) 2) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.07) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน มากที่สุด ( = 4.28) รองลงมาคือ ด้านความสัมพันธ์ กับเพื่อนร่วมงาน ( = 4.18) ส่วนด้านความก้าวหน้าในหน้าที่งาน ได้ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( = 3.91) 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน และด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน มีนัยสำคัญ ทางสถิติ ตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัว สามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการจังหวัด ในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 ได้ร้อยละ 52.40 (R2 = 0.524) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ 0.740 (R = 0.740)
สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้
Ŷ = 1.541 + .227 (X1) + .225 (X2) + .212 (X3)
Ẑ = .320 (Z1) + .311 (Z2) + .220 (Z3)
แนวทางในการปฏิบัติงาน ควรมีแผนการปฏิบัติงานในการจัดสรรทรัพยากร เพื่อลดความซ้ำซ้อนของงาน การใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงานอย่างคุ้มค่าเหมาะสมกับลักษณะงาน และใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร
Downloads
References
กาญจนาพร วงศ์อาจ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านงานธุรการ สังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด ในเขตพื้นที่ภาค 6. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ณัฐดนัย ไทยถาวร. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนระดับประถมศึกษาจังหวัด สระบุรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ธนภรณ์ พรรณราย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นิยม รัฐอมฤต. (2550). สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวโน้มบริบทการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกและสังคมไทยภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
ปัณฑารีย์ เสกขุนทด. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พัชรี พันธุ์แตงไทย. (2564). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร สายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
มณฑกา รัตนโสภา. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการ ส่วนกลาง. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิเชียร วิทยอุดม. (2553). องค์การและการจัดการ. นนทบุรี : ธนธัชการพิมพ์.
สภารัตน์ เริงอารมณ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงาน ปลัดกระทรวงกลาโหม. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุพจน์ อภิรักษ์ธารา และ ปฏิมา ถนิมกาญจน์. (2565). บรรยากาศองค์การและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. 16(2) : 44-58.
อนุชา กาญจนกุลไพศาล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรใน โรงงานผลิตยา องค์การเภสัชกรรม. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York : Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.