ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมครามสกลนคร ผ่านการถ่ายทอดสดทางเฟซบุ๊ก ไลฟ์
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.26คำสำคัญ:
ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพล, ความตั้งใจซื้อผ้าย้อมคราม, เฟซบุ๊ก ไลฟ์, TAMบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมครามสกลนคร ผ่านการถ่ายทอดสดทางเฟซบุ๊ก ไลฟ์ 2) พัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมครามสกลนคร ผ่านการถ่ายทอดสดทางเฟซบุ๊ก ไลฟ์ และ 3) ศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมครามสกลนคร ผ่านการถ่ายทอดสดทางเฟซบุ๊ก ไลฟ์ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota Sampling) จากผู้ติดตาม และผู้เคยซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมครามสกลนคร ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 420 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมครามสกลนคร ผ่านการถ่ายทอดสดทางเฟซบุ๊ก ไลฟ์ พบว่า ค่าน้ำหนักองค์ประกอบของโมเดลการวัดตัวแปรสังเกตได้ ซึ่งทุกตัวมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) พัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมครามสกลนคร ผ่านการถ่ายทอดสดทางเฟซบุ๊ก ไลฟ์ พบว่า ปัจจัยเชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดลคือ χ2=517.277, df=112, χ2/df=4.62, P-value=0.065, CFI=.927, TLI=.952, RMSEA=.039, SRMR =.045 และ 3) อิทธิพลทางตรงและทางอ้อมปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมครามสกลนคร ผ่านการถ่ายทอดสดทางเฟซบุ๊ก ไลฟ์ พบว่า ปัจจัยแฝงการรับรู้ประโยชน์และทัศนคติต่อการใช้งาน มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมความตั้งใจซื้อ และปัจจัยแฝงความง่ายต่อการใช้งานและการรับรู้ประโยชน์ มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมความตั้งใจซื้อ
Downloads
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2561). คู่มือเปิดร้านค้าออนไลน์ Easy Online Shop. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https:// www.dbd.go.th/download/ecommerce_file/pdf/dbd_ecommmanual_openshopoonline_6202.pdf. สืบค้น 10 มีนาคม 2564.
ณัฐพร วัฒนวรรณ. (2561). อิทธิพลของความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อทัศนคติต่อตราสินค้าที่จําหน่ายผ่านการถ่ายทอดสด การขายเครื่องสําอางทางเฟซบุ๊ก ไลฟ์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เบญจมาภรณ์ รุ่นประพันธ์. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ภาควิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ประภาศรี พงศ์ธนาพาณิช. (2566). ปัจจัยการตลาดกับการยอมรับเทคโนโลยีต่อความตั้งใจซื้อผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษากลุ่มเจเนอเรชันซี ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์ 15(2) : 1-15.
ปิยะวดี ยอดนาอิรยา มณีเขียว และ พรกมล สาฆ้อง. (2564). แนวทางการบริหารจัดการของกลุ่มผู้ผลิตผ้าย้อมสีธรรมชาติ:กลุ่มสตรี4 ชุมชนตำบลแพดอำเภอคำตากล้าจังหวัดสกลนคร. วารสารปรัชญาปริทรรศน์. 26(2) : 156-166.
เพชรไพรริน อุปปิง และคณะ. (2561). โครงการพัฒนาและยกระดับสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร.
ภาวินีย์ หิ่งห้อย. (2561). การยอมรับเทคโนโลยี Facebook Live และความน่าเชื่อถือของเจ้าของPage ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าบน Facebook. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, บัณฑิตวิทยาลัย.
เมลดา พรมเคียมอ่อน. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความนิยมในการชมเฟซบุ๊กไลฟ์ของคนไทย. สารนิพนธ์ ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศศิกานต์ สังข์ทอง. (2562). โครงสร้างตลาด พฤติกรรมการแข่งขัน และผลการดำเนินงานของตลาดผลิตภัณฑ์คราม จังหวัดสกลนคร. วารสารบริหารธุรกิจ เทคโนโลยีมหานคร. 16(2) : 126-150.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัล. (2564). รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2564. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/ publications/ValueThailand2021.aspx. สืบค้น 10 มีนาคม 2564.
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร. (2562). ผ้าย้อมครามสกลนคร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://online.pubhtml5.com/eree/fmyd/#p=1. สืบค้น 15 มีนาคม 2564.
สุนทรพจน์ ดำรงค์พาณิชย์. (2563). โปรแกรม Mplus กับการวิเคราะห์ข้อมูลทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. กรุงเทพมหานคร.
Davis, F.D. (1989). Perceived usefulness, perceives ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 329-340.
Fah Chawanthawat. (2020). 5 กลยุทธ์ Social Commerce พิชิตใจลูกค้าและเพิ่มยอดขายในปี 2020. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://stepstraining.co/social/5-strategy-social-commerce. สืบค้น 5 มกราคม 2564.
Hoelter, J.W. (1983). The analysis of covariance structures: Goodness-of-fit indices. Sociological Methods and Research, 11(1), 325-344.
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., Anderson, R.E., & Tatham, R.L. (2006). Multivariate Data Analysis.(6th ed.). New Jersey: Pearson Education International.
Khanakon Phettrakul. (2563). แฟชั่นในยุค COVID-19 กับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ที่ส่งผลให้แบรนด์น้อยใหญ่เร่งปรับตัว. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.ellethailand.com/content/Fashion-New-Normal. สืบค้น 15 มกราคม 2564.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.