ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีปกครองในศาลปกครองไทย

ผู้แต่ง

  • เชาวณี ผิวจันทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.7

คำสำคัญ:

ปัญหาและแนวทางการพัฒนา, การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท, คดีปกครอง

บทคัดย่อ

การระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative dispute Resolution) ถือเป็นการยุติข้อพิพาทเชิงสมานฉันท์ที่ปัจจุบันนำมาใช้ในกระบวนการยุติธรรมทั้งคดีแพ่ง คดีอาญาและคดีปกครอง ซึ่งรูปแบบที่ศาลนำมาใช้คือการไกล่เกลี่ยโดยมีคนกลางมาทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ย ข้อดีของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมีหลายประการได้แก่ ทำให้คดียุติโดยเร็วโดยคู่กรณี ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายทำให้สัมพันธภาพระหว่างคู่กรณีเป็นไปอย่างราบรื่น ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย (win-win) ศาลปกครองนำวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกมาใช้โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2562 ซึ่งกระบวนการไกล่เกลี่ยที่ศาลปกครองใช้ในการระงับข้อพิพาททางเลือกยังมีเงื่อนไขและข้อจำกัดหลายประการ เนื่องจากคดีปกครองเป็นคดีที่มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากคดีแพ่งและคดีอาญาในศาลยุติธรรม

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีปกครอง (2) ศึกษารูปแบบวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีปกครองในต่างประเทศ (3) ศึกษารูปแบบวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีปกครองในประเทศไทย (4) ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีปกครองในประเทศไทย วิธีการศึกษาวิจัยเกิดจากการรวบรวมข้อมูลเอกสารวิชาการและการสัมภาษณ์เชิงลึก
(In-depth Interview) คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลวิจัยแบบเจาะจง มีจำนวน 39 ราย ได้แก่ ตุลาการศาลปกครอง 24 ราย ผู้พิพากษาศาลยุติธรรม จำนวน 1 ราย พนักงานอัยการ จำนวน 2 ราย พนักงานคดีปกครอง จำนวน 7 ราย อาจารย์มหาวิทยาลัยหรือนักวิชาการ จำนวน 4 ราย และนักกฎหมายหรือผู้ที่เคยเข้ารับการไกล่เกลี่ยในคดีปกครอง จำนวน 1 ราย

            การวิจัยนี้ทำให้ทราบว่า การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง เป็นกระบวนการที่ช่วยให้การบริหารจัดการคดีของศาลปกครองมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสและส่งเสริมให้คู่กรณี
มีทางเลือกในการระงับข้อพิพาททางปกครอง โดยอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2562 และระเบียบที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด
ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง พ.ศ. 2562 แต่กฎหมายทั้งสองฉบับข้างต้นยังมีเงื่อนไขและข้อจำกัดบางประการที่ทำให้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไม่อาจบรรลุผลสำเร็จลงได้ในทุกคดี จากการศึกษาพบว่ามีประเด็นปัญหาและข้อจำกัด ได้แก่ (1) ปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และประเภทคดี
ที่ไกล่เกลี่ยในศาลปกครอง (2) ปัญหาด้านกระบวนการและขั้นตอนวิธีการไกล่เกลี่ยในศาลปกครอง และ               (3) ปัญหาเกี่ยวกับการบังคับคดีที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและศาลพิพากษาตามยอม ซึ่งผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวการทางพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีปกครองโดยการเสนอแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เพื่อช่วยให้การระงับข้อพิพาททางปกครองโดยวิธีการไกล่เกลี่ยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนได้อย่างแท้จริง อีกทั้งทำให้ศาลปกครองบรรลุเป้าหมายในการบริหารจัดการคดีปกครองต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรรณิกา สุทธิประสิทธิ์และคณะ. (2554). สรุปผลการสัมมนาหัวข้อ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลปกครองฝรั่งเศส. ใน โครงการพัฒนาความรู้ตุลาการศาลปกครอง เรื่อง การนำวิธีระงับข้อพิพาททางเลือก (ADR) มาใช้กับคดีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในศาลปกครอง. วันที่ 13 ธันวาคม 2554. หน้า 66 - 67. กรุงเทพฯ : สำนักงานศาลปกครอง.

เทียนเงิน อุตระชัย. (2562). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองตามร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง (ฉบับที่...) พ.ศ.... สำนักวิจัยและวิชาการ สำนักงานศาลปกครอง.

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542. (2542, ตุลาคม 5). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 94 ก. มาตรา 11.

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 12) แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก. มาตรา 66/1, 66/2, 66/4.

ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง พ.ศ. 2562. (2562, สิงหาคม 31). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136 ตอนที่ 94 ก. ข้อ 31.

รัตนลักษณ์ นาถนิติธาดา. (2551). การไกล่เกลี่ยคดีปกครองในศาลปกครอง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครอง. (2565). กรุงเทพฯ : สำนักบริหารยุทธศาสตร์ สำนักงานศาลปกครอง.

รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยเรื่อง กระบวนการสร้างความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในศาลยุติธรรม. (2553). กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

วรารัตน์ ไคขุนทด. (2554). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง : สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี. วารสารวิชาการศาลปกครอง. 11(4) : 56–57.

วรารัตน์ ไคขุนทด. (2554). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง : สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี. วารสารวิชาการศาลปกครอง. 11(4) : 58–59.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

13-04-2024

How to Cite

ผิวจันทร์ เ. (2024). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีปกครองในศาลปกครองไทย. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(1), 93–110. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.7