การสร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการขยะชุมชนด้วยเทคโนโลยี การจัดการขยะมูลฝอยตามแนวพระราชดำริสู่ชุมชน :กรณีองค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและการปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง ในรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอย (2) เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน โดยใช้เทคโนโลยีการจัดการขยะตามแนวพระราชดำริ ในการศึกษานี้ ประชากรแท้ที่เป็นเจ้าบ้านหรือตัวแทนเจ้าบ้านตามเลขที่บ้าน ทั้ง 9 หมู่บ้าน โดยหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างการวิจัยจากสูตรของทาโร ยามาเน่ ได้จำนวนตัวอย่าง 335 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ โดยค่าความถี่และค่าเฉลี่ยร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่า (1) ด้านรูปแบบการจัดการขยะใน อบต.โนนแดง มีการประชาสัมพันธ์ด้านการจัดการขยะเป็นประจำ มีการจัดเก็บขยะอย่างสม่ำเสมอ ด้วยรถขนขยะเฉพาะกิจของ อบต. และพบว่าจำนวนถังขยะมีไม่เพียงพอกับปริมาณขยะมูลฝอยของชุมชน ด้านการพัฒนาการบริหารจัดการขยะมูลฝอย เห็นด้วยที่ อบต.เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ได้แสดงความคิดเห็นในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน และส่งเสริมและประชาสัมพันธ์เชิงรุกในการสร้างเครือข่ายการคัดแยกขยะในชุมชนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ด้านพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย ประชาชนมีส่วนมากความเข้าใจในการคัดแยกขยะชุมชน มีการแยกเศษอาหาร ทิ้งถังเศษอาหาร มีการแยกขยะเพื่อนำไปขาย และแยกขยะอันตรายออกจากขยะอื่น และด้าน
Downloads
Article Details
How to Cite
บท
บทความวิจัย (Research Articles)
Copyright & License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการปกครอง. (2563). แผนปฏิบัติราชการกรมการปกครอง พ.ศ.2563 – 2565. กรุงเทพฯ:กระทรวงมหาดไทย.
ชนิดา เพชรทองคำและคณะ. (2554). การบริหารจัดการขยะและเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษา อบต ไร่ส้ม จ.เพชรบุรี. โครงการพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือเครือข่ายนักวิจัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.
ประเสริฐ บัวจันอัฐ. (2566). รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลปะอาว อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 หน้าที่ 92-105.
พีรยา วัชโรทัยและคณะ.(2556). การจัดการขยะขององค์ปกปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา เทศบาลตำบลเมืองแกลง จังหวัดระยอง. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม. ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 หน้า 71-89.
ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์และคณะ.(2562). การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการขยะครบวงจรด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยชุมชน ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ศิริญญา ฐานบำรุงและคณะ.(2566). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยบ้านใหม่สามัคคี ตำบลหนองใหญ่ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 หน้าที่ 141- 152.
หัทยา เนตยารักษ์และคณะ.(2557). การประยุกต์เทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยตามแนวพระราชดำริสู่ชุมชนเมือง: กรณีศึกษาชุมชนสุขใจวิลเลจ แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 หน้าที่ 44- 58.
ชัยณรงค์ ทองชาติ.(2565). รูปแบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.