ทักษะการมอบหมายงานของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.36คำสำคัญ:
ทักษะการมอบหมายงาน, การบริหารงานบุคคล, มัธยมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับทักษะการมอบหมายงานของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม 2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการมอบหมายงานของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม และ 4) เพื่อศึกษาทักษะการมอบหมายงานของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม ประชากรที่ศึกษา คือ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม จำนวน 29 แห่ง กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มจากประชากร โดยใช้ตารางการประมาณขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 28 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษากลุ่มบริหารงานบุคคลหรือหัวหน้าฝ่ายบุคคล และครูผู้สอน รวมทั้งสิ้น 308 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับทักษะการมอบหมายงานของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม โดยภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการวิเคราะห์ระดับการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ทักษะการมอบหมายงานของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันและมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งมีค่าสหสัมพันธ์ระหว่าง .906 ถึง .956 และ 4) ทักษะการมอบหมายงานของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม ได้แก่ ด้านการพิจารณาบุคลากร ด้านการสร้างแรงจูงใจ ด้านเทคนิคการมอบหมายงาน ด้านการกำหนดขอบเขตภาระงาน และด้านการติดตามการทำงาน มีค่าสหสัมพันธ์พหุคูณของตัวแปรเท่ากับ .984 ค่าอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 96.80 ค่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นจากการพยากรณ์เท่ากับ .128 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน คือ
= 0.646 + 0.407X2 + 0.107X6 + 0.160X3 + 0.151X1 + 0.249X4
= 0.363Z2 + 0.112Z6 + 0.162Z3 + 0.159Z1 + 0.234Z4
Downloads
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). คู่มือการปฏิบัติงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กลุ่มบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
ฉัฐญา ละม้ายแข. (2566). ทักษะการมอบหมายงานของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล Delegation Skill of School Administrators in The Digital Age. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 5. (น. 786-792). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
พิพัฒน์พงษ์ พงกะพันธ์. (2564). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา The Personnel Administration of Institutional Administrators. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต. 21(2) : 51-57.
มงคล กรัตะนุตถะ. (ม.ป.ป.). 5 เทคนิคการมอบหมายงาน และติดตามงานลูกน้องให้ได้ทั้งงานและได้ทั้งใจ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.drfish.training. สืบค้น 25 สิงหาคม 2566.
สมพร ใจคำปัน. (2547). การบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. (ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานสภาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
Farid Mohammad Qawasmeh, Sarah Yousef Alnafisi, Rateb Almajali, Bandar Saud Alromaih, Mamdouh Mosaad Helali, Haron Ismail al-lawama. (2024). Effectiveness of Human Resources Management Among Managers. Jordanian Educational Institutions: A Comprehensive Study. Migration Letters. 21(2) : 283-294.
Hinkle, D.E. (1998). Applied Statistics for the Behavioral Sciences. Boston: Houghton Mifflin.
Krejcie & Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607 – 610.
Likert, Rensis. (1961). New Pattern of Management. New York: McGraw – Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.