ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • เสกสรรค์ สนวา คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • สุพัฒนา ศรีบุตรดี คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • วรฉัตร วริวรรณ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.25

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ, การตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ, คณะนิติรัฐศาสตร์

บทคัดย่อ

         งานวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของคณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลกับนักศึกษาคณะนิติรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 จำนวน 71 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

         ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนที่คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด พบว่า ระดับการตัดสินใจต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนที่คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดจัดอยู่ในระดับมาก (  = 4.07 ; S.D.=0.70)               เมื่อพิจารณารายข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก พบว่า ด้านคุณภาพและผลงานอาจารย์ อยู่ในระดับมาก (  = 4.34 ; S.D.=0.67) ลำดับที่สองคือ ด้านหลักสูตรการเรียนและ            การสอนคณะนิติรัฐศาสตร์และด้านการบริหารจัดการ (  = 4.12 ; S.D.=0.69) และลำดับที่สามคือด้านภาพลักษณ์ของคณะนิติรัฐศาสตร์ (  = 4.11 ; S.D.=0.66) ตามลำดับ

         ข้อเสนอแนะ ความต้องการเกี่ยวกับการเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี                   ของคณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด พบว่า 1) ควรมีการแนะแนวตามโรงเรียน        ที่จบมาพร้อมกับการสร้างนักศึกษาเป็นนักประชาสัมพันธ์มืออาชีพ 2) เวลาที่ออกไปแนะแนว      ตามโรงเรียน ควรมีการแนะแนวทางอาชีพของแต่ละสาขาเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกเรียน         3) คณะควรสร้างคอนเทนต์เกี่ยวกับการเรียนของนักศึกษาแต่ละสาขาเพื่อนำเสนอผ่านสื่อออนไลน์ให้ตรงตามความต้องการของวัยรุ่น 4) คณะควรมีแนวทางในการลดค่าสมัครแรกเข้า 50% หรือ       มีจุดดึงดูดที่น่าสนใจ และ 5) ควรให้รุ่นพี่ที่มีบุคลิกภาพที่ดี หรือ Smart ออกไปแนะแนว         ตามโรงเรียนต่าง ๆ

Downloads

Download data is not yet available.

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน.

พรรณพนัช จันหา และอัจฉริยา ปราบอริพ่าย. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 8(1) : 291 -318.

สไบซะ จำนงลักษณ์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก : http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/bitstream/123456789/4077/1/20230313-Research-Subaisa%20J..pdf. สืบค้น 21 มีนาคม 2567.

เสกสรรค์ สนวา. (2560). หลักในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: ว่าด้วยมิติเชิงพุทธ มิติเศรษฐกิจ มิติสังคม มิติสุขภาพ มิติการศึกษา และมิติทางการเมือง. มหาสารคาม : อภิชาติการพิมพ์.

เสกสรรค์ สนวา, พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์, วรฉัตร วริวรรณ จิราพร บาริศรี และนภัสภรณ์ ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม. (2564). การปรับตัวด้านการเรียนการสอนภายใต้ยุควิถีใหม่ของนักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 5(3) : 1-14.

Yamane, Taro. (1973). Statistics an introductory analysis. New York : Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-07-2024

How to Cite

สนวา เ., ศรีบุตรดี ส., & วริวรรณ ว. (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(2), 15–30. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)

หมวดหมู่